แอบบีเวสต์มินสเตอร์

แอบบีเวสต์มินสเตอร์

Canterbury Cathedral

แอบบีเวสต์มินสเตอร์
แอบบีเวสต์มินสเตอร์
สิ่งก่อสร้าง
ชื่อเดิม เซนต์เซวิเออร์
ฐานะวัด มหาวิหาร
นิกาย อังกลิคัน
ที่ตั้ง เวสต์มินสเตอร์
ประเทศ 22px สหราชอาณาจักร
การก่อสร้าง
แรกสุด ค.ศ. 616
ปัจจุบัน ค.ศ. 1245
สร้างเสร็จ สร้างต่อเนื่อง
แบบสถาปัตยกรรม กอธิค
แบบผัง กางเขน
ผู้ออกแบบ/ตกแต่ง
ข้อมูลด้านการท่องเที่ยว
สิ่งที่น่าสนใจ สถานที่ที่ใช้ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพของพระมหากษัตริย์อังกฤษ
พิกัด 51°29′58″N, 0°7′39″W

แอบบีเวสต์มินสเตอร์ หรือ เวสต์มินสเตอร์แอบบี (อังกฤษ: The Collegiate Church of St Peter at Westminster หรือเรียกกันสั้นๆ ว่า Westminster Abbey) แอบบีเวสต์มินสเตอร์เดิมเป็นสำนักสงฆ์ (แอบบี) แต่ปัจจุบันเป็นวัดนิกายอังกลิคันที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ในแขวงเวสต์มินสเตอร์ในกรุงลอนดอนในอังกฤษ สถาปัตยกรรมที่เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นแบบกอธิคเป็นส่วนใหญ่นอกจากหอคอยที่เป็นสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค แอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสถานที่ที่ใช้ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและที่ฝังพระบรมศพของพระมหากษัตริย์อังกฤษและพระบรมวงศานุวงศ์ ระหว่างปี ค.ศ. 1546 ถึงปี ค.ศ. 1556 แอบบีได้รับเลื่อนฐานะขึ้นเป็นมหาวิหาร ต่อมาในรัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 แอบบีก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระอารามหลวง (Royal Peculiar)

ประวัติ

แอบบีเวสต์มินสเตอร์เริ่มสร้างเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 616 ณ ที่ตั้งปัจจุบันที่เดิมเรียกว่าธอร์น อาย (เกาะธอร์น) ซึ่งเป็นเกาะกลางแม่น้ำ ตามตำนานกล่าวว่าคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ชื่ออัลดริชเห็นนักบุญปีเตอร์มาปรากฏตัวใกล้กับที่ตั้งแอบบีในปัจจุบัน ซึ่งอาจจะเป็นเหตุผลของการที่แอบบีได้รับปลาซาลมอนจากคนหาปลาในแม่น้ำเทมส์ต่อมา แต่ตามหลักฐานที่น่าเชื่อถือกว่ากล่าวว่าในคริสต์ทศวรรษ 960 หรือต้นคริสต์ทศวรรษ 970 นักบุญดันสตันร่วมกับพระเจ้าเอ็ดการ์ได้ก่อตั้งชุมชนนักบวชเบ็นนาดิคตินขึ้นที่นี่ ต่อมาสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพก็สร้างแอบบีให้เป็นวัดหินระหว่างปี ค.ศ. 1045 ถึงปี ค.ศ. 1050 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของพระราชวังของพระองค์ แอบบีได้รับการสถาปนาเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม ค.ศ. 1065 เพียงอาทิตย์เดียวก่อนที่จะเสด็จสวรรคตและใช้เป็นที่ฝังพระศพของพระองค์เอง ในปี ค.ศ. 1245 พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ก็ทรงสร้างแอบบีใหม่แทนแอบบีเดิมและทรงเลือกให้เป็นที่บรรจุพระศพของพระองค์เอง

แผนผังมหาวิหาร ค.ศ. 1894 ภาพของแอบบีเดิมที่ในลักษณะที่เป็นสถาปัตยกรรมโรมาเนสก์ก็เหลืออยู่เพียงภาพที่ปรากฏอยู่ข้างๆ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์บนผ้าปักบายู ทางแอบบีมีรายได้เพิ่มขึ้นจนขยายตัวจากนักบวชราวสิบกว่าองค์ขึ้นไปเป็นราวแปดสิบองค์[1]

เจ้าอาวาสของแอบบีผู้ซึ่งเป็นผู้คงแก่เรียนพำนักอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ซึ่งเป็นที่ตั้งของรัฐบาลที่เป็นศูนย์กลางของอำนาจทางการเมืองมาตั้งแต่หลังจากชาวนอร์มันได้รับชัยชนะต่ออังกฤษ ในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 11 และต่อมาอีกหลายร้อยปี ก็มักจะได้รับตำแหน่งในพระราชสำนักและในที่สุดก็มีสิทธิได้เป็นสมาชิกในสภาขุนนาง เมื่ออำนาจทางด้านการเป็นผู้นำของนิกายถูกย้ายไปอยู่ที่แอบบีคลูนีในฝรั่งเศสในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 10 นักบวชของแอ็บบีเวสต์มินสเตอร์ก็มีโอกาสในการบริหารบริเวณที่ดินต่างๆ ที่เป็นเจ้าของซึ่งบางครั้งก็ไกลไปจากเวสต์มินสเตอร์เองมาก “นักบวชเบ็นเนดิคตินดูเหมือนจะปรับตัวเข้ากับการใช้ชีวิตอย่างฆราวาสได้เป็นอย่างดี และโดยเฉพาะกับในหมู่ชนชั้นสูง” เป็นคำสรุปของบาร์บารา ฮาร์วีย์ ที่ทำให้เห็นภาพพจน์ของชีวิตประจำวัน[2] ในแง่มุมของชนชั้นผู้ดีในสังคมชั้นสูงในยุคกลางและปลายยุคกลาง

แต่การที่มีที่ตั้งที่อยู่ไม่ไกลจากพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้ทำให้นักบวชมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์มากไปกว่าปกติ ในทางสังคมนักบวชของแอบบีก็ยังปฏิบัติตัวอย่างสมถะเช่นเดียวกับนักบวชอื่นๆ ในนิกายเดียวกันที่ตั้งอยู่ที่อื่น เจ้าอาวาสก็ยังคงมีฐานะเป็นผู้เป็นเจ้าของที่ดินของชุมชนราวสองสามพันคนรอบๆ แอบบี ในฐานะผู้บริโภคและนายจ้างทางราชสำนักก็ช่วยส่งเสริมความเจริญทางเศรษฐกิจของเวสต์มินสเตอร์ นอกจากนั้นความสัมพันธ์ระหว่างราชสำนักกับเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นความสัมพันธ์อันดี แต่ทางเวสต์มินสเตอร์ก็มิได้รับสิทธิพิเศษในการค้าขายใดๆ ในยุคกลาง[3] แอบบีเวสต์มินสเตอร์สร้างร้านค้าและที่อยู่อาศัยทางด้านตะวันตกแต่ก็เริ่มรุกเข้ามาในบริเวณของนักบวช

แอบบีกลายเป็นสถานที่ในการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเศกของพระมหากษัตริย์นอร์มันแต่ไม่มีองค์ใดที่ถูกฝังที่นั่นมาจนมาถึงพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ผู้ทรงอุทิศพระองค์แก่ลัทธินิยมพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ พระองค์ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่ในแบบสถาปัตยกรรมกอธิคเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้แก่นักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ผู้ได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญในปี ค.ศ. 1161 และเป็นที่สำหรับฝังพระบรมศพของพระองค์เอง งานการก่อสร้างยังคงทำกันต่อมาระหว่างปี ค.ศ. 1245 ถึงปี ค.ศ. 1517 และส่วนใหญ่ทำโดยสถาปนิกเฮนรี เยเวล (Henry Yevele) ในสมัยพระเจ้าริชาร์ดที่ 2 ต่อมาในปี ในปี ค.ศ. 1503 พระเจ้าเฮนรีที่ 7 ก็ทรงต่อเติมชาเปลแบบเพอร์เพ็นดิคิวลาร์ (Perpendicular Period) ทางด้านหลังสุดของแอบบีที่อุทิศให้แก่พระแม่มารี (ที่รู้จักกันว่า “ชาเปลพระแม่มารีของพระเจ้าเฮนรีที่ 7”) หินที่ใช้สร้างแอบบีมาจากค็อง (Caen) ในฝรั่งเศส และในบริเวณลุ่มแม่น้ำลัวร์

ธงของแอบบีเวสต์มินสเตอร์ที่ประกอบด้วยอาร์มของราชวงศ์ทิวดอร์ระหว่างดอกกุหลาบทิวดอร์เหนืออาร์มของนักบุญเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ ในปี ค.ศ. 1535 จากการสำรวจทรัพย์สินและรายได้ของวัดในอังกฤษก่อนการยุบสำนักสงฆ์ทางการพบว่ารายได้ประจำปีของแอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นจำนวนประมาณ £2400-2800 ซี่งเป็นจำนวนที่มากเป็นที่สองรองจากแอบบีกลาสตันบรี (Glastonbury Abbey) หลังจากนั้นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 ก็ทรงยึดการปกครองจากนักบวชมาทรงปกครองด้วยพระองค์เองในปี ค.ศ. 1539 และทรงยกฐานะแอบบีขึ้นเป็นมหาวิหารในปี ค.ศ. 1540 และพระราชทานพระราชเอกสารสิทธิ (letters patent) ก่อตั้งให้แอบบีเวสต์มินสเตอร์เป็นสังฆมณฑลอิสระ--สังฆมณฑลเวสต์มินสเตอร์ การก่อตั้งแอบบีเวสต์มินสเตอร์ให้เป็นมหาวิหารทำให้แอบบีรอดจากการถูกทำลายอย่างยับเยินเช่นแอบบีอื่นๆ เกือบทุกแอบบีในราชอาณาจักรอังกฤษในยุคเดียวกัน แต่เวสต์มินสเตอร์ก็เป็นมหาวิหารอยู่ได้เพียงสิบปีจนถึงปี ค.ศ. 1550 วลี “โขมยจากปีเตอร์ไปจ่ายให้พอล” (robbing Peter to pay Paul) อาจจะมีรากมาจากยุคนี้คือเมื่อรายได้ที่ควรจะเป็นของแอบบีเวสต์มินสเตอร์ (ซึ่งเป็นแอบบีที่อุทิศให้แก่นักบุญปีเตอร์) ถูกโอนไปให้กับคลังของมหาวิหารเซนต์พอล

สมเด็จพระราชินีนาถแมรีที่ 1 ผู้ทรงเป็นโรมันคาทอลิกพระราชทานแอบบีเวสต์มินสเตอร์คืนให้กับนักบวชเบ็นนาดิคติน แต่ก็มาถูกยึดคืนโดยสมเด็จพระราชินีนาถเอลิซาเบธที่ 1 ในปี ค.ศ. 1559 ยี่สิบปีต่อมาในปี ค.ศ. 1579 พระองค์ก็พระราชทานฐานะแอบบีให้เป็น “พระอารามหลวง” ซึ่งหมายถึงการเป็นวัดที่ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์แทนที่จะขึ้นอยู่กับเขตการปกครองของบาทหลวงของสังฆมณฑลใดสังฆมณฑลหนึ่ง และพระราชทานชื่อใหม่ว่า “วัดคอลเลจิเอตเซนตปีเตอร์” (Collegiate Church of St Peter) ซึ่งเท่ากับเป็นการสิ้นสุดจากการเป็นแอบบีหรือสำนักสงฆ์มาเป็นวัดที่ปกครองโดยอธิการ (dean) เจ้าอาวาสองค์สุดท้ายของแอบบีได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิการ

ในคริสต์ทศวรรษ 1640 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษแอบบีได้รับความเสียหายจากกลุ่มเพียวริตันที่พยายามบุกเข้ามาทำลายรูปเคารพต่างๆ แต่ก็ได้รับการปกป้องเพราะความที่อยู่ใกล้กับรัฐบาลเครือจักรภพ เมื่อเจ้าผู้พิทักษ์โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ถึงแก่อสัญกรรมก็ได้รับการทำพิธีฝังศพกันอย่างอย่างใหญ่โตที่แอบบีในปี ค.ศ. 1658 แต่ร่างของครอมเวลล์ก็มาถูกขุดขึ้นมาเพียงอีกสามปีต่อมาในเดือนมกราคม ค.ศ. 1661 เพื่อนำมาแขวนคอที่ตะแลงแกงไม่ไกลจากแอบบีนัก

ขบวนแห่ขุนนางแห่งบาธหน้าแอบบีเวสต์มินสเตอร์โดยคานาเล็ตโต ค.ศ. 1749แผนผังแอบบีเวสต์มินสเตอร์ ค.ศ. 2008 หอสองหอด้านหน้าแอบบีสร้างระหว่างปี ค.ศ. 1722 ถึงปี ค.ศ. 1745 โดยนิโคลัส ฮอคสมัวร์ (Nicholas Hawksmoor) จากหินพอร์ตแลนด์ และเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมฟื้นฟูกอธิค การขยายต่อมาทำในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายใต้การควบคุมของเซอร์จอร์จ กิลเบิร์ต สกอตต์ (George Gilbert Scott) ปฏิมณฑลสำหรับด้านหน้าออกแบบโดยเซอร์เอ็ดวิน ลูเต็นส (Edwin Lutyens) ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 แต่ไม่ได้สร้าง

จนกระทั่งถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 แอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็เป็นสถานศึกษาลำดับที่สามของอังกฤษรองจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ และเป็นสถานที่ที่หนึ่งในสามตอนแรกของพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับพระเจ้าเจมส์ (King James Bible) ของพันธสัญญาเดิมและครึ่งหลังของพันธสัญญาใหม่ได้รับการแปล ในคริสต์ศตวรรษที่ 20 แอบบีก็เป็นที่รวบรวมพระคัมภีร์ไบเบิลภาษาอังกฤษฉบับใหม่ (New English Bible) แอบบี เวสต์มินสเตอร์ได้รับความเสียหายเพียงเล็กน้อยระหว่างการทิ้งระเบิดในลอนดอนเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ค.ศ. 1940

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก

บัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด ตั้งแต่พระราชพิธีบรมราชาภิเษกของทั้งพระเจ้าฮาโรลด์ กอดวินสัน และสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี ค.ศ. 1066 แล้วแอบบีก็ใช้เป็นสถานที่สำหรับการทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระมหากษัตริย์ของอังกฤษและของสหราชอาณาจักรทุกพระองค์ ยกเว้นพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 5 และพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 8 ผู้ไม่ทรงมีโอกาสเข้าทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อพระเจ้าเฮนรีที่ 3 ขึ้นครองราชย์พระองค์ไม่ทรงสามารถทำพิธีราชาภิเษกในลอนดอนได้ เพราะพระเจ้าหลุยส์ที่ 8 แห่งฝรั่งเศสทรงยึดลอนดอนอยู่ในขณะนั้น พระองค์จึงทรงย้ายไปทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกที่มหาวิหารกลอสเตอร์ในกลอสเตอร์เชอร์ แต่พระสันตปาปาทรงเห็นว่าเป็นการไม่ถูกต้อง พระเจ้าเฮนรีที่ 3 จึงทรงทำพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่สองในแอบบีเวสต์มินสเตอร์เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม ค.ศ. 1220 เลดี้เจน เกรย์ผู้ครองราชย์เพียงเก้าวันก็มิได้มีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ตามธรรมเนียมแล้วอัครบาทหลวงแห่งแคนเตอร์บรีจะเป็นนักบวชผู้ทำพิธีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บัลลังก์ที่ใช้ประทับระหว่างพิธีคือบัลลังก์พระเจ้าเอ็ดเวิร์ด (King Edward's Chair) ที่เก็บไว้ภายในมหาวิหารและใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1308 ระหว่าง ค.ศ. 1301 ถึง ค.ศ. 1996 ภายใต้บัลลังก์มีหินแห่งสโคน (Stone of Scone) ซึ่งเดิมเป็นหินที่พระมหากษัตริย์แห่งสกอตแลนด์ทรงใช้ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก แต่ปัจจุบันหินแห่งสโคนถูกนำกลับไปเก็บที่ปราสาทเอดินบะระห์ในสกอตแลนด์จนกว่าจะถึงพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งต่อไป

การบรรจุศพและอนุสรณ์

ระเบียงคด พระเจ้าเฮนรีที่ 3 ทรงสร้างแอบบีเวสต์มินสเตอร์ใหม่เพื่อเป็นเกียรติแก่นักบุญสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดผู้สารภาพ วัตถุมงคลของพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่เดิมอยู่ภายในบริเวณศักดิ์สิทธิ์ภายในแอบบีแต่ในปัจจุบันย้ายไปอยู่ภายใต้ที่เก็บศพภายใต้พื้นโมเสกคอสมาติหน้าแท่นบูชาเอก ส่วนพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 เองก็ถูกบรรจุไว้ในที่บรรจุอันงดงามไม่ไกลนัก เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์ราชวงศ์แพลนทาเจเน็ท และพระญาติพระวงศ์อีกหลายพระองค์ หลังจากการบรรจุพระบรมศพของพระเจ้าเฮนรีที่ 3 แล้วการบรรจุศพภายในแอบบีก็กลายเป็นประเพณีของการบรรจุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และพระราชินีเกือบทุกพระองค์ต่อมา ยกเว้นบางพระองค์เช่นพระเจ้าเฮนรีที่ 8 และพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 1 ที่ได้รับการบรรจุที่ชาเปลเซนต์จอร์จที่พระราชวังวินด์เซอร์เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์หลังจากรัชสมัยของพระเจ้าจอร์จที่ 2

พระบรมศพหรือพระศพของพระมหากษัตริย์หรือพระราชวงศ์จะบรรจุไว้ภายในชาเปลต่างๆ ภายในแอบบี ส่วนศพของนักบวชและผู้อื่นที่เกี่ยวข้องกับแอบบีเวสต์มินสเตอร์ก็จะบรรจุภายในระเบียงคดและบริเวณอื่นๆ ในแอบบี เช่นกวีคนสำคัญของอังกฤษเจฟฟรีย์ ชอเซอร์ผู้เคยพำนักอยู่ที่แอบบีเวสต์มินสเตอร์และเป็นข้าราชสำนักขณะที่มีชีวิตอยู่ กวีคนอื่นๆ ก็ถูกบรรจุไว้ในบริเวณเดียวกันที่เรียกกันว่า “มุมกวี” ที่ได้แก่; วิลเลียม เบลค, โรเบิร์ต เบิร์นส และวิลเลียม เชกสเปียร์เป็นต้น ต่อมาการบรรจุศพกันในแอบบีกลายมาเป็นสิ่งที่เชิดหน้าชูตา จึงทำให้เผยแพร่ไปยังการบรรจุศพบุคคลสำคัญๆ จากอาชีพต่างๆ เช่นนักการเมือง, นักวิทยาศาสตร์ หรือนักการทหารเป็นต้น

อ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • คริสต์ศาสนสถาน
  • สถาปัตยกรรมกอธิค
  • มหาวิหารในสหราชอาณาจักร
  • แผนผังมหาวิหาร
  • สถาปัตยกรรมการก่อสร้างมหาวิหารในยุโรปตะวันตก

แหล่งข้อมูลอื่น

  • คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ แอบบีเวสต์มินสเตอร์

สมุดภาพ

แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
EArchitect
8 july 2015
Arrive by 4:30pm to attend the 5pm daily Evening Song mass. Absolutely superlative experience. The entrance into the abbey is on the west side. Photography is strictly prohibited inside.
Carl Griffin
28 december 2015
Burial and coronation place of most English monarchs. Highlights are the coronation chair, poets corner and the lady chapel. A must visit to understands its importance in British history.
Karen
5 march 2017
This Abbey is majestic. You can just feel the history as you stand and walk among the great Kings, Queens, artists, and writers that are resting here.
MaryQueenofScots.net
21 april 2014
The magnificent marble tomb of Mary Queen of Scots, erected by her son James I, is located in the south aisle of the Lady Chapel. It features a fine white marble effigy under an elaborate canopy.
J L
29 september 2014
Lovely abbey of historic proportions. See tombs of kings and queens of the UK and learn a bit of history. The self guided tour is terrific. Not photos in the Abbey however.
Robert Accettura
2 january 2015
It's expensive and the line is long. But it's a must see. It's all of British history in one beautiful historic building. Take an audio tour and walk around. It's pretty amazing.

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Spectacular Strand 2 bed apartment!!

ตั้งแต่วันที่ $0

Amba Hotel Charing Cross

ตั้งแต่วันที่ $645

1 Compton

ตั้งแต่วันที่ $0

Clarendon Serviced Apartments - Chandos Place

ตั้งแต่วันที่ $0

The Grand at Trafalgar Square

ตั้งแต่วันที่ $418

Amba Hotel Charing Cross

ตั้งแต่วันที่ $0

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
St. Margaret's, Westminster

The Anglican church of St. Margaret, Westminster Abbey is situated in

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Jewel Tower

The Jewel Tower in London is one of only two surviving sections of the

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Parliament Square

Parliament Square is a square at the northwest end of the Palace of

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Victoria Tower

The Victoria Tower is the square tower at the southern end of the

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Methodist Central Hall, Westminster

The Methodist Central Hall (also known as Central Hall Westminster) is

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พระราชวังเวสต์มินสเตอร์

พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ หรือ ตึกรัฐสภาเวสต์มินสเตอร์ (ภาษาอังกฤษ: Pal

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
สภาสามัญชนแห่งสหราชอาณาจักร

สภาสามัญชน (อังกฤษ: House of Commons) เป็นสภาล่างในรัฐสภาแห่งอังกฤษ ป

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
บิ๊กเบน

หอนาฬิกาพระราชวังเวสต์มินสเตอร์ (Clock Tower, Palace of Westminster) หรือรู้จักดีในชื่อ บิ๊กเ

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Jvari (monastery)

Jvari or Jvari Monastery (ჯვარი, ჯვრის მონასტერი) is a Geo

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Geghard

The monastery of Geghard ('Գեղարդ' in Armenian) is a unique archi

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Rila Monastery

The Monastery of Saint John of Rila, better known as the Rila

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Gelati Monastery

The Monastery of Gelati is a monastic complex near Kutaisi, Imereti,

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
แอบบีแซงต์-เรอมีแห่งแรงส์

แอบบีแซงต์-เรอมีแห่งแรงส์ (อังกฤษ: Abbey of Saint-Remi) เป็นอดีตแอบบีหรือ

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด