ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์

ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ หรือ ออแตลเดอวีลเดอบรูว์แซล (ฝรั่งเศส: Hôtel de Ville de Bruxelles; อังกฤษ: Brussels Town Hall) เป็นศาลาว่าการของนครบรัสเซลส์ โดยเป็นอาคารเพียงแห่งเดียวที่สร้างตั้งแต่สมัยยุคกลางในสถาปัตยกรรมกอทิก ที่ตั้งอยู่ที่ใจกลางส่วนประวัติศาสตร์ของนครบรัสเซลส์ คือ กร็อง-ปลัส (La Grande Place de Bruxelles)

ประวัติ

ศาลาว่าการแห่งนี้ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ศิลปะทั้งหมดสองส่วนสำคัญ ได้แก่

  • สถาปัตยกรรมกอทิก เป็นส่วนที่สร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 โดยเป็นส่วนของตัวอาคารยาวขนานกับจัตุรัสจรดกับถนนชาร์ล บูล (Rue Charles Buls)
  • สถาปัตยกรรมบาโรก ซึ่งสร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 18 ประกอบด้วย ส่วนต่อขยายของอาคารจำนวนสามปีกเป็นรูปตัวยู "U" มาจรดกันที่ด้านหลังของอาคารเดิม

ส่วนสถาปัตยกรรมกอทิก

ส่วนของอาคารที่เป็นสถาปัตยกรรมกอทิกที่สร้างในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 15 นั้นถูกแบ่งเป็นสามช่วงหลักๆ คือ

บริเวณปีกซ้ายและบริเวณฐานของหอแขวนระฆังนั้นเริ่มสร้างในปี ค.ศ. 1401 จนถึงค.ศ. 1421 โดยสร้างบนที่เดิมซึ่งเป็นที่พักของเทศมนตรี อำนวยการสร้างโดยสถาปนิกยาโกบ ฟัน ตีเนิน (ศิษย์เอกของฌ็อง ดัวซี สถาปนิกชาวแอโนผู้ริเริ่มสถาปัตยกรรมกอทิกแบบบราบันต์) และฌ็อง บอร์นัว สถาปนิกชาวฝรั่งเศส กับเค. ฟันเดอร์ บรุกเกอ

บริเวณปีกขวาได้มีการวางศิลาฤกษ์โดยชาร์ลผู้อาจหาญ เริ่มสร้างเมื่อปี ค.ศ. 1444 จนถึงค.ศ.​1449 โดยเป็นผลงานการออกแบบของสถาปนิก กีโยม เดอ วอแกล ซึ่งต่อมาได้กลายมาเป็นสถาปนิกเอกประจำนครบรัสเซลส์ในปี ค.ศ. 1452

บริเวณส่วนบนของอาคารรวมทั้งยอดแหลมของหอแขวนระฆังนั้นสร้างขึ้นโดยยัน ฟัน เรยส์บรุก สถาปนิกเอกประจำราชสำนักของฟิลิปที่ 3 ดยุกแห่งเบอร์กันดี ในปี ค.ศ.1449 ถึงค.ศ. 1455

ส่วนสถาปัตยกรรมบาโรก

หลังจากการถูกถล่มโดยกองทัพฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1695 ได้สร้างความเสียหายมากมายให้กับตัวอาคาร และยังทำลายอาคารที่ตั้งอยู่ด้านหลัง คือ ตลาดผ้า หรือ "อาโลดรา" (Halle au Drap) ที่ตั้งอยู่ติดกันกับอาคารนี้ ซึ่งต่อมาจึงได้มีการบูรณะซ่อมแซม รวมทั้งขยายออกไปบริเวณด้านหลังอาคารที่เคยเป็นสถานที่ตั้งของอาโลดรา ได้รับการออกแบบโดยสถาปนิกชาวบรัสเซลส์ กอร์แนย์ วาน แนร์แวน ในแบบสถาปัตยกรรมบาโรก (แบบพระเจ้าหลุยส์ที่ 14) ในระหว่างปี ค.ศ. 1706 ถึงค.ศ. 1717 อาคารส่วนที่ต่อเติมมาด้านหลังนี้มิได้สร้างขึ้นในฐานะสถานที่ราชการของบรัสเซลส์ แต่ในฐานะของรัฐบราบันต์ จนกระทั่งปี ค.ศ. 1795

การบูรณะในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 19

อาคารศาลาว่าการแห่งนี้ได้ผ่านการบูรณะครั้งใหญ่มาหลายครั้งในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ภายใต้การควบคุมของสถาปนิกตีลมาน-ฟร็องซัว ซุย ตั้งแต่ปี ค.ศ.​ 1840 และวิกตอร์ ฌาแมร์ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1860 เป็นต้นไป โดยได้มีการเฉลิมฉลองครบสองร้อยปีเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ค.ศ. 1897 โดยในช่วงนี้เป็นช่วงที่มีการต่อเติมรูปปั้นโดยรอบของอาคารอย่างที่เห็นในปัจจุบัน

ก่อนหน้านี้ ศาลาว่าการแห่งนี้ไม่ได้ถูกตกแต่งประดับประดาโดยรอบอาคารด้วยรูปปั้นมากมาย มีเพียงแต่คันทวย รูปปั้นของผู้เผยพระวจนะทั้งแปด และรูปปั้นตกแต่งบริเวณป้อมมุมของอาคารเท่านั้น โดยจากหลักฐานของอนุสรณ์สถานทางประวัติศาสตร์ของเบลเยียม บรัสเซลส์ ฉบับที่ 1 หน้า 126 ได้ระบุว่า จากหลักฐานที่พบตามภาพเขียนในปี ค.ศ. 1564, 1606, 1646 และ 1650 จะพบว่าบริเวณหน้าบันหลักของอาคารรวมทั้งปีกทั้งสองข้างนั้นไม่พบรูปปั้นใด ๆ ประกอบ ยกเว้นบริเวณเหนือซุ้มประตูทางเข้าหลัก บริเวณชั้นสองของหอแขวนระฆัง และบริเวณหอป้อมมุมทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และหน้าที่ 128 ระบุอีกว่า ได้มีการตกแต่งเพิ่มเติมด้านหน้าอาคารฝั่งตะวันออกในระหว่างปี ค.ศ. 1860 จนถึง ค.ศ. 1867

ส่วนงานตกแต่งด้านหน้าอาคารนั้นเป็นผลงานของวิกตอร์ ฌาแมร์ ซึ่งได้เพิ่มส่วนหน้าต่างโค้งมีช่องทางเดินด้านใน รวมทั้งบันไดซึ่งเขาได้ปรึกษาอย่างดีกับเออแฌน วียอแล-เลอ-ดุก ในระหว่างปี ค.ศ. 1844 ถึงค.ศ. 1902 นั้นได้มีการเพิ่มเติมรูปปั้นต่าง ๆ ภายนอกอาคารถึง 150 ชิ้น สลักจากหินปูนสีขาวจากเมืองก็องและเอชายง

ส่วนรูปปั้นผู้เผยพระวจนะนั้นประดับอยู่เหนือมุขทางเข้า ซึ่งเสื่อมโทรมไปตามเวลานั้นได้ถูกย้ายไปเก็บในพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นแห่งบรัสเซลส์ (Musée communal de Bruxelles) โดยได้แทนที่เดิมด้วยงานสลักจำลองจากของจริง รวมถึงงานคันทวย และงานแกะสลักหัวเสาจาก แมซงเดอแล็สทราปาด, แมซงเดอลากาโวมวน และ แมซงดูว์มอร์

ลักษณะทางสถาปัตยกรรม

หอแขวนระฆัง

หอแขวนระฆัง (beffroi) ที่สูงตระหง่านอยู่บนยอดอาคารนั้นถูกสร้างในรูปแบบที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง แต่กลับกลายเป็นความลงตัวกันอย่างอัศจรรย์ โดยมีส่วนฐานเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสในช่วงระยะแรกของการก่อสร้าง และบริเวณยอดเป็นแบบหอส่องสว่าง (tour-lanterne) ซึ่งสร้างเสร็จในอีกกว่าห้าสิบปีต่อมาโดยฝีมือของสถาปนิกยัน ฟัน เรยส์บรุก

บริเวณฐานทรงสี่เหลี่ยมนั้นประดับด้วยซุ้มประตูทรงแหลมแบบกอทิก บริเวณชั้นบนถัดไปนั้นตกแต่งในแบบเดียวกันกับปีกซ้ายทั้งหมด คือ มีหน้าต่างแบ่งซีกบริเวณชั้นสอง เหนือขึ้นไปเป็นรูปปั้นเรียงกันเป็นแถว และชั้นถัดไปบริเวณชั้นสามเป็นหน้าต่างแบ่งซีกซึ่งด้านบนมียอดหน้าบันทรงแหลมและสลักเป็นลายดอกสามใบอย่างกอทิก เหนือขึ้นไปบริเวณชั้นที่สี่และห้านั้นยังอยู่ในโครงแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยในแต่ละชั้นประกอบด้วยซุ้มหน้าต่างสูงปลายแหลมสองบานหันหน้าไปทางจัตุรัส

ด้านบนซึ่งเป็นส่วนที่สองนั้นออกแบบเป็นทรงแปดเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งรับน้ำหนักโดยครีบยันจำนวนสี่ด้าน ซึ่งแต่ละด้านนั้นก็เป็นทรงแปดเหลี่ยมเช่นกัน บริเวณส่วนยอดนี้แบ่งเป็นสามระดับชั้น ในแต่ละชั้นตกแต่งด้วยซุ้มหน้าต่างสูงปลายแหลมฉลุเป็นลวดลายสวยงาม ซึ่งด้านบนประดับด้วยงานแกะสลักนูนต่ำเป็นซุ้มหน้าต่างแบบตัน และกำแพงเตี้ย ๆ (parapets) แกะสลักประดับด้วยปนาลี ส่วนบริเวณยอดแหลมนั้นประดับด้วยลายประดับทอง บริเวณยอดประดับด้วยรูปหล่อของนักบุญมีคาเอล ผู้เป็นนักบุญผู้อุปถัมภ์แห่งนครบรัสเซลส์

รูปปั้นนักบุญมีคาเอล

อนุเสาวรีย์นักบุญมีคาเอล (อัครทูตสวรรค์) นักบุญผู้อุปถัมภ์แห่งบรัสเซลส์ ซึ่งประดับอยู่บนปลายยอดแหลมของหอแขวนระฆังนั้น เป็นอิริยาบถที่กำลังสังหารมังกร เป็นผลงานการปั้นของประติมากร มาร์ติน แวน โรด ซึ่งเสร็จสมบูรณ์และติดตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1454

อนุเสาวรีย์นี้สร้างจากโลหะแผ่น (มิใช่ทองเหลืองอย่างที่เข้าใจกัน) โดยหากมองด้วยตาเปล่าจากบริเวณใกล้ ๆ แล้ว จะมีความรู้สึกเหมือนรูปหล่อนี้ไม่ได้สัดส่วนและไม่สวยงาม แต่เมื่อมองจากเบื้องล่างบริเวณจัตุรัสแล้วจะดูสวยงามและลงตัวกว่ามาก

อนึ่ง จากพระคัมภีร์นั้น มังกรถือเป็นสัญลักษณ์ของซาตานหรือปีศาจ หลังจากวันพิพากษา

ซุ้มประตู

บริเวณฐานของหอแขวนระฆังนั้นเป็นซุ้มประตูหลักทรงโค้งสัน เหนือขึ้นไปคือหน้าบัน โดยมีรูปปั้นของนักบุญมีคาเอลล้อมรอบด้วยนักบุญเซบาสเตียง, นักบุญคริสโตเฟอร์, นักบุญจอร์จ, นักบุญเฌรี (กอเกอริกุส มุขนายกแห่งก็องเบร) ผู้ที่ตามตำนานกล่าวไว้ว่าเป็นผู้ที่สร้างหอสวดมนต์ซึ่งกลายมาเป็นต้นกำเนิดของนครบรัสเซลส์

นอกจากนี้บริเวณหน้าบันยังตกแต่งด้วยรูปปั้นคุณธรรมหลัก 4 ประการ (cardinal virtues) ได้แก่ พรูเดนเชีย (ความรอบคอบ) และจุสติเตีย (ความยุติธรรม) อยู่ทางด้านขวามือ ฟอร์ติตูโด (ความกล้าหาญ) และ เทมเปอรานเชีย (ความพอประมาณ) อยู่บริเวณด้านขวามือ โดยแต่ละรูปนั้นจะรองรับด้วยคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม

บริเวณส่วนของหน้าบัน รูปปั้นประดับต่างๆ รวมทั้งคันทวยนั้นมิได้สร้างในยุคสมัยสถาปัตยกรรมกอทิก แต่ล้วนสร้างขึ้นภายหลังในการปรับปรุงในคริสต์ศตวรรษที่ 19

ผนังด้านหน้า

บริเวณด้านหน้าของอาคารนั้นแบ่งเป็นสองฝั่งโดยไม่เท่ากันทั้งสองข้างขนาบหอแขวนระฆัง และบริเวณปลายสุดทั้งสองฝั่งเป็นป้อมมุม

ในแต่ละฝั่ง (ปีก) นั้นประกอบด้วยซุ้มทางเดิน (arcade), ระเบียง, และชั้นบนจำนวนสองชั้นโดยแต่ละชั้นมีหน้าต่างบานใหญ่แบบแบ่งซีกเรียงกันอย่างสวยงาม และบนสุดเป็นหลังคามุงด้วยแผ่นไม้ขนาดเล็ก และยังมีหน้าต่างหลังคา ประดับอยู่มากมาย

บริเวณด้านหน้าอาคารนั้นประกอบด้วยรูปปั้นประดับมากมาย ส่วนมากเป็นรูปปั้นของดยุกและดัชเชสแห่งบราบันต์ โดยแต่ละรูปนั้นจะรองรับโดยคันทวย และด้านบนจะเป็นบุษบก (dais) ทำจากหินแกะสลักอย่างวิจิตรซึ่งมีด้านบนเป็นยอดทรงพิรามิดประดับด้วยหินแกะเป็นใบไม้เรียงกันขึ้นไปบนปลายยอดที่เป็นสลักเป็นช่อดอกไม้แบบกอทิก "เฟลอรง" (fleuron)

ส่วนประกอบของทั้งสองฝั่งนั้นไม่สมมาตรในหลายองค์ประกอบด้วยกัน ได้แก่:

  • ปีกซ้าย (ซึ่งเก่ากว่า) ประกอบด้วยช่วงเสาจำนวน 10 ช่วง ในขณะที่ปีกขวานั้นมีเพียง 7 ช่วงเท่านั้น
  • ปีกซ้ายนั้นมีซุ้มทางเดินจำนวน 11 ช่อง อีกฝั่งมีเพียง 6 ช่อง
  • หน้าต่างบริเวณชั้นบน (ชั้นสอง) นั้นเป็นเพียงหน้าต่างธรรมดาแบบแบ่งซีก ในขณะที่ปีกขวานั้นเป็นหน้าต่างสูงปลายแหลมซึ่งด้านบนสลักเป็นดอกสามดอกแบบกอทิก
  • หน้าต่างบริเวณชั้นบน (ชั้นสอง) นั้นเหนือขึ้นไปจะประดับด้วยรูปปั้นเรียงรายกันเป็นแถว ยกเว้นปีกขวาทั้งหมด
  • บานหน้าต่างบริเวณชั้นสามนั้นเป็นแบบสี่เหลี่ยมแต่งยอดโค้งสันเป็นลายดอกแบบกอทิกที่ตัน (สลักแบบนูนต่ำ) แต่ปีกขวานั้นฉลุเป็นหน้าต่างแทน

ได้มีตำนานเก่าแก่เล่าไว้ว่าสถาปนิกผู้สร้างอาคารหลังนี้ได้ทำการฆ่าตัวตายโดยการกระโดดลงมาจากยอดของหอแขวนระฆังภายหลังจากที่เขาได้เห็นถึงความไม่เท่ากันของทั้งสองฝั่ง แต่ในความเป็นจริงแล้ว ทั้งสองฝั่งมิได้ถูกสร้างขึ้นพร้อมกัน และก็มิได้สร้างโดยสถาปนิกคนเดียวกันด้วย

หอมุมทรงแปดเหลี่ยมที่ประดับอยู่บริเวณหัวมุมอาคารทั้งสองฝั่งนั้นมีด้านหน้าประดับด้วยลายดอกแบบกอทิกนูนต่ำ ในแต่ละชั้นความสูงนั้นจะตกแต่งด้วยปนาลีจำนวน 8 ตนยื่นออกมาอยู่บริเวณฐานของกำแพงระเบียงด้านนอกซึ่งฉลุเป็นลวดลายสวยงาม บริเวณชั้นบนสุดนั้นประดับยอดแบบโคนตกแต่งด้วยหินสลักเป็นใบไม้ บนสุดบริเวณปลายยอดแหลมเป็นกังหันลม

ซุ้มทางเดิน

บริเวณชั้นล่างสุดของอาคารจะมีลักษณะเป็นซุ้มทางเดิน ซึ่งที่กล่าวมาแล้วจะมีลักษณะที่ไม่สมมาตร โดยฝั่งซ้ายมือมีจำนวน 11 ช่อง (หนึ่งช่องเป็นแบบตันอยู่บริเวณฐานของหอมุม) และขวามือเพียง 6 ช่อง

ซุ้มทางเดินนั้นมีลักษณะเป็นช่องโค้งสัน บริเวณสันโค้งด้านบนตกแต่งด้วยหินสลักเป็นลวดลายใบกะหล่ำ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบบราบองซง บริเวณยอดสันตกแต่งด้วยหินแกะเป็นช่อดอกไม้แบบกอทิก "เฟลอรง" ตกแต่งด้วยลายใบกะหล่ำ อยู่ภายในช่องโค้งสันแบบตัน

บริเวณฐานของช่องโค้งนั้นตกแต่งเป็นรูปปั้นของเหล่าอัศวินจากเจ็ดตระกูลขุนนางแห่งบรัสเซลส์ (Lignages de Bruxelles) ซึ่งรองรับรูปปั้นด้วยคันทวยที่สลักเป็นลวดลายบอกเล่าเรื่องราวต่างๆอย่างชัดเจน ที่เห็นได้ชัดคือนักดนตรีกำลังสีเครื่องเล่นอย่างสนุกสนาน

ดูเพิ่ม

  • สถาปัตยกรรมกอทิก
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
VISITBRUSSELS
24 january 2014
Town Hall is one of Belgium's finest civic buildings. Not only because of the numerous sculptures adorning its walls, also because of its perfect proportions and the incomparable beauty of its tower
Gabi Bulumac
20 december 2015
Iconic building ???? The high tower has on top the statue of Archangel Michael witch it's the saint-patron of Brussels ???? Astonishing in the night ????
Carl Griffin
1 january 2016
Stunning gothic building. Was the only building in the Grand Place to survive the 1695 French bombardment.
Vicente Martinez
12 september 2019
Edificio majestuoso e imponente. Una maravilla arquitectónica que hay que contemplar durante un buen rato. Situada en la también maravillosa Grand Place.
Linfa
15 august 2021
Se trouve sur ma grand place de Bruxelles! Bel endroit classé au patrimoine de l’UNESCO
Maxim Saveliev
16 june 2013
Ратуша – самое старое сооружение на площади Гран-Пляс. В архитектуре здания интересно сочетаются два направления: видимая с площади часть построена в готическом стиле, а остальные в классическом.
แผนที่
La Meuse et l'Escaut, 1000 Bruxelles, เบลเยียม ขอเส้นทาง
Sat 10:00 AM–7:00 PM
Sun Noon–5:00 PM
Mon 8:00 AM–7:00 PM
Tue 8:00 AM–8:00 PM
Wed-Thu 9:00 AM–8:00 PM

Brussels Town Hall ในFoursquare

ศาลาว่าการกรุงบรัสเซลส์ ในFacebook

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Novotel Brussels Centre Tour Noire Hotel

ตั้งแต่วันที่ $231

Brussels Marriott Hotel Grand Place

ตั้งแต่วันที่ $175

Ibis Brussels Centre St Catherine

ตั้งแต่วันที่ $193

Dansaert Hotel

ตั้งแต่วันที่ $116

Astrid Hotel

ตั้งแต่วันที่ $0

Hotel Orts

ตั้งแต่วันที่ $167

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
กร็อง-ปลัส

จัตุรัสหลักแห่งบรัสเซลส์ หรือ กร็อง-ปลัสเดอบรูว์แซล (ฝรั่งเศส: Grand-Pl

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Brussels Stock Exchange

The Brussels Stock Exchange (BSE) (French: Bourse de Bruxelles, Dutch:

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
แมนเนเกน พิส

แมนเนเกน พิส (ดัตช์: Manneken Pis; แปลว่า เด็กชายกำลังปัสสาวะ บางค

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Jeanneke Pis

小便少女是一座位于布鲁塞尔的现代喷泉雕像,她对应于布鲁塞尔城的市標尿尿小童而存在, 而且事实上小便少女雕像在地理上也正好位于相同距离的布鲁塞尔大广场的另外一面。

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
La Monnaie

The Koninklijke Muntschouwburg (de Munt) (Dutch), or le Théâtre R

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Royal Library of Belgium

The Royal Library of Belgium (Koninklijke Bibliotheek in Dutch,

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Kapellekerk

The Église de la Chapelle (French) or Kapellekerk (Dutch) is a church

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
St. Michael and St. Gudula Cathedral

The St. Michael and St. Gudula Cathedral is located at the Treurenberg

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
อาคารไรชส์ทาค

อาคารไรชส์ทาค (เยอรมัน: Reichstagsgebäude; หรือชื่ออย่างเป็นทาง

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Chatsworth House

Chatsworth House is a large country house at Chatsworth, Derbyshire,

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
อาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกา

อาคารรัฐสภาสหรัฐอเมริกา หรือทับศัพท์ว่า ยูเอสแคพปิตอล (อังกฤษ: United

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
General Staff Building (Saint Petersburg)

The General Staff Building (Russian: Здание Главного штаба, Zdanie

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Openbare Bibliotheek Amsterdam

The Openbare Bibliotheek Amsterdam (Public Library Amsterdam) is a

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด