ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ (English. London Heathrow Airport) หรือมักเรียกโดยย่อว่า ฮีทโธรว์ เป็นท่าอากาศยานที่มีการจราจรทางอากาศหนาแน่นที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของประเทศสหราชอาณาจักร และทวีปยุโรป ในกรณีของจำนวนผู้โดยสาร และเป็นท่าอากาศยานที่หนาแน่นที่สุดของโลก ในกรณีของจำนวนผู้โดยสารระหว่างประเทศ ดำเนินการโดย บริษัท ท่าอากาศยานอังกฤษ จำกัด (เดิมคือ องค์การท่าอากาศยานแห่งประเทศอังกฤษ)

ดูสิ่งนี้ด้วย

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเมืองฮิลลิงดอน ห่างจากตัวเมืองของกรุงลอนดอนประมาณ 24 กิโลเมตร (15 ไมล์) เป็นหนึ่งในสามของท่าอากาศยานที่อยู่ในเขตของกรุงลอนดอนและปริมณฑล อีกสองแห่งก็คือ ท่าอากาศยานลอนดอนซิตตี้ และท่าอากาศยานลอนดอนบิ๊กกิงฮิล

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์มีทางวิ่งขนานกัน 2 ทางวิ่ง ตามแนวทิศตัวออกและทิศตะวันตก และ มีอาคารผู้โดยสาร 4 อาคาร โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง และยังมีแผนปรับปรุงอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออกใหม่ รวมทั้งเพิ่มทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นทางด้วย

ประวัติ

ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ เริ่มให้บริการช่วงทศวรรษ 1930 (พ.ศ. 2473) ดำเนินการโดย Fairey Aviation ใช้สำหรับการผลิตและทดสอบการบินเป็นหลัก ชื่อของท่าอากศยานตั้งตามชื่อของหมู่บ้าน Heath row ที่ถูกทำลายไปจากการสร้างสนามบิน ซึ่งประมาณการว่าอยู่บริเวณที่อาคารผู้โดยสาร 3 ตั้งอยู่ในปัจจุบัน โดยในช่วงแรกยังไม่เปิดบริการแก่เที่ยวบินพาณิชย์ ซึ่งในขณะนั้นมีท่าอากาศยานยานโครยดอน เป็นท่าอากศยานหลัก

ฮีทโธรว์เปิดให้บริการการบินพาณิชย์ในวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2490 โดยมีทางวิ่ง 3 ทางวิ่ง พร้อมกับอีก 3 ทางวิ่งที่กำลังก่อสร้างตามแผนแม่บทดั้งเดิม ซึ่งใช้รองรับเครื่องบินที่ใช้เครื่องยนต์พิสตัน ที่ต้องการระยะทางวิ่งสั้นในการขึ้น-ลงจอด และสามารถขึ้น-ลงจอดในทุกสภาพของทิศทางลม ทางวิ่งผิวคอนกรีตอย่างรูปแบบในปัจจุบันเปิดใช้ในปี พ.ศ. 2496 โดยสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธ ที่ 2 และพระองค์ยังเสด็จมาเปิดอาคารผู้โดยสารหลังแรก อาคารยูโรปา (หรือที่รู้จักกันในปัจจุบันว่า อาคารผู้โดยสาร 2) ในปี พ.ศ. 2498 และหลังจากนั้นไม่นานนัก อาคารโอเชียนิก (อาคารผู้โดยสาร 3) ก็เปิดให้บริการ ส่วนอาคารผู้โดยสาร 1 เปิดใช้ในปี พ.ศ. 2511 ทำให้เกิดเป็นกลุ่มอาคารเต็มพื้นที่จุดศูนย์ของท่าอากาศยาน และเป็นข้อจำกัดในการขยายตัวในอนาคต

ที่ตั้งของท่าอากาศยานซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของกรุงลอนดอนเป็นพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมนัก เนื่องจากทิศทางของกระแสลม ทำให้หลายๆสายการบินจะต้องบินเลียดต่ำผ่านตัวเมืองเป็นช่วงเวลาทั้ง ร้อยละ 80 ของปี ในขณะที่ท่าอากาศยานสำคัญของประเทศอื่นๆในภูมิภาคยุโรป มักจะตั้งอยู่ทางเหนือหรือใต้ของตัวเมือง ทำให้ประสบปัญหาน้อยกว่า ข้อเสียอีกประการหนึ่งคือ ท่าอากาศยานอยู่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 25 เมตร (83 ฟุต) ทำให้เกิดปัญหาเรื่องหมอกอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2520 รถไฟใต้ดินเมืองลอนดอนให้ขยายเส้นทางมาถึงฮีทโธรว์ เชื่อมต่อการเดินทางจากใจกลางกรุงลอนดอนกับท่าอากาศยาน

อาคารผู้โดยสาร 4 สร้างห่างออกจาก 3 อาคารผู้โดยสารแรกลงมาทางใต้ และเปิดให้บริการในปี พ.ศ. 2529 ซึ่งเป็นอาคารให้บริการหลักของสายการบินบริติชแอร์เวย์

ในปี พ.ศ. 2530 รัฐบาลสหราชอาณาจักรได้แปรรูปรัฐวิสาหกิจ การท่าอากาศยานอังกฤษ (British Airports Authority) มาเป็นบริษัทเอกชน BAA ซึ่งบริหารงานท่าอากาศยานฮีทโธรว์และท่าอากาศยานอื่นๆในสหราชอาณาจักรอีก 6 แห่ง

การก่อวินาศกรรม

  • 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2517 กลุ่ม IRA ให้วางระเบิดบริเวณลานจอดรถอาคารผู้โดยสาร 1 มีผู้บาดเจ็บ 2 ราย
  • 17 เมษายน พ.ศ. 2529 พบระเบิด semtex ในถุงของสตรีที่กำลังตั้งครรภ์ชาวไอริช กำลังพยายามจะนำขึ้นเครื่องของสายการบินเอลอัล โดยระเบิดถูกส่งมอบมาจากแฟนหนุ่มชาวจอร์แดน ผู้ซึ่งเป็นพ่อของเด็กในท้อง
  • พ.ศ. 2537 ฮีทโธรว์ตกเป็นเป้าหมาย 3 ครั้ง ในช่วงเวลา 6 วัน (8 มีนาคม, 10 มีนาคม และ 13 มีนาคม) โดยกลุ่ม IRA เนื่องจากท่าอากาศยานฮีทโธรว์เป็นเป้าหมายสำคัญในการทำลายเศรษฐกิจของอังกฤษ ทำให้ต้องหยุดทำการท่าอากาศยานไปหลายวัน และการคุ้มกันมีความเข้มงวดมากขึ้นเพราะว่าสมเด็จพระราชินีนาถจะเดินทางกลับในวันที่ 10 มีนาคม พอดี
  • เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 กองทัพบกอังกฤษ 1000 นาย เข้าตึงกำลังภายในฮีทโธรว์ เนื่องหน่ยวข่าวกรองรายงานว่า กลุ่มอัลกออิดะ อาจจะส่งจรวดระบิดโจมตีเครื่องบินของสายการบินสัญชาติอังกฤษหรืออเมริกัน ในวันที่ 6 พฤศจิกายน จึงได้ประกาศใช้มาตรการความปลอดภัยใหม่ มีผลบัลคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานประเทศสหราชอาณาจักร
  • 10 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ได้ประกาศปรับแผนการรักษาความปลอดภัยให้มีความเข้มงวดมากขึ้น เพื่อป็องกันการโจมตีเที่ยวบินที่บินข้ามมหาสมุทรของกลุ่มอัลกออิดะ โดยกฎใหม่มีผลบังคับใช้ทันที และทำให้เกิดความล่าช้าและความไม่สะดวกสบายต่อผู้โดยสาร ซึ่งมาตรการเหล่านี้รวมถึงข้อห้ามการนำกระเป๋าขึ้นเครื่องโดยสาร ยกเว้นสิ่งของสำคัญเช่น เอกสารเดินทาง และอุปกรณ์หรือยารักษาโรค โดยของที่เป็นของเหลวทุกชนิดจะต้องทดสอบโดยผู้โดยสารคนนั้นที่จุดตรวจ ซึ่งต่อมาภายหลัง ได้มีการข้อผ่อนปรนสำหรับกรณียารักษาโรค และนมเด็ก
  • 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2549 ได้ออกมาตรการใหม่ ให้บังคับใช้กับผู้โดยสารทุกคนที่เดินทางออกจากท่าอากาศยานของประเทศสหราชอาณาจักร [1] โดยอนุญาตให้ของเหลวบางชนิดที่กำหนดไว้สามารถผ่านจุดตรวจเข้าไปได้ ส่วนของเหลวชนิดอื่นๆมีการกำหนดปริมาณที่สามารถนำขึ้นเครื่องโดยสารได้

อุบัติเหตุ

  • 3 มีนาคม พ.ศ. 2491 Sabena Douglas DC3 Dakota ตกจากเพราะสภาพอากาศที่เป็นหมอก ลูกเรือ 3 คน และผู้โดยสารอีก 19 จาก 22 คน เสียชีวิต
  • 1 สิงหาคม พ.ศ. 2499 เครื่องบินทิ้งระเบิด XA897 Avro Vulcan ของกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ตกที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ หลังจากพยายามจะนำเครื่องขึ้นในสภาพทัศนวิสัยไม่ดี เดิมทีเครื่องบินลำนี้จะส่งมอบให้กับกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร และกำลังกลับจากการบินสาธิตจากประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ทั้งนักบินและผู้ช่วยนักบินดีดตัวออกมาได้ทัน แต่นักบินอีก 4 คน เสียชีวิต
  • 27 ตุลาคม พ.ศ. 2508 Vickers Vanguard G-APEE ของ British European Airway (BEA) บินมาจากอดินเบิร์ก ขณะที่กำลังลงจอดโดยสภาพทัศนวิสัยไม่ดี พุ่งชนกับทางวิ่ง 28R ลูกเรือ 6 คน และผู้โดยสารทั้งหมด 30 คน เสียชีวิต
  • 8 เมษายน 2511เครื่องบินโบอิง 707 G-ARWE ของ BOAC เดินทางไปออสเตรเลีย โดยแวะผ่านสิงคโปร์ เครื่อยนต์เกิดลุกไหม้หลังจากนำเครื่องขึ้น เครื่องยนต์หลุดออกจากตัวเครื่องบริเวณใกล้กับอ่างเก็บน้ำ Queen Mother ที่ Datchet แต่นักบินสามารถนำเครื่องลงจอดฉุกเฉินได้ ตัวเครื่องบินลุกไหม้ทั้งลำ มีลูกเรือ 1 คน และผู้โดยสาร 4 คน เสียชีวิต ที่เหลืออีก 122 คน รอดชีวิต
  • 3 กรกฎาคม 2511 Airspeed Ambassador G-AMAD ของ BKS Air Transport ปีกเครื่องบินกระแทกกับพื้นขณะลงจอด ทำให้เครื่องบินตกลงบนพื้นหญ้าและไถลไปทางอาคารผู้โดยสาร ชนเข้ากับเครื่องบิน Hawker Siddeley Trident 2 ลำ ของ BEA จนระเบิดลุกไหม้ ลูกเรือเสียชีวิต 6 คน และม้าที่บรรทุกมาอีก 8 ตัว
  • 18 มิถุนายน พ.ศ. 2515 เครื่องบินHawker Siddeley Trident ของ BEA เที่ยวบิน 548 บินจากฮีทโธรว์ไปยังกรุงบลัสเซลส์ ตกลงใกล้กับ Staines ผู้โดยสาร 109 คน และ ลูกเรือ 9 คน ทั้งหมดเสียชีวิต

ฮีทโธรว์ในวันนี้

ในปัจจุบันท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ มีอาคารผู้โดยสารทั้งหมด 4 อาคาร (โดยอาคารที่ 5 กำลังก่อสร้าง) อาคารคลังสินค้า 1 อาคาร เดิมทีนั้นฮีทโธรว์จะมีทางวิ่งทั้งหมด 6 เส้นทาง เป็นทางขนานกัน 3 คู่ วางตามแนวทิศทางที่ต่างกัน แต่เนื่องจากความต้องการระยะทางวิ่งที่เพิ่มมากขึ้น ฮีทโธรว์จึงเหลือทางวิ่งเพียงสองเส้น ตั้งตามแนวตะวันออก-ตะวันตก ความยาว 3,901 และ 3,660 เมตร ทั้งนี้ได้มีการศึกษาให้สร้างทางวิ่งอีกหนึ่งเส้นขนานไปกับทางวิ่งเดิม เพื่อรองรับการจราจรที่หนาแน่นในอนาคต

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์บริหารโดย BAA มาช้านาน ซึ่งในปัจจุบัน BAA เป็นของบริษัทสัญชาติสเปน Ferrovial Group (Grupo Ferrovial)

รัฐบาลได้ออกข้อบังคับสำหรับเที่ยวบินช่วงเวลากลางคืน ให้ใช้เครื่องบินที่มีเครื่องยนต์ที่มีเสียงเงียบตามข้อกำหนด แต่อาจจะถูกระงับการบินได้ตลอดช่วงเวลากลางคืน หากว่ารัฐบาลไม่รู้สึกพอใจคำตัดสินจาก European Court of Human Rights

เพื่อป้องกันการค้ากำไรเกินควร ค่าธรรมเนียมลงจอดของสายการบินที่ BAA จะได้รับ กำหนดโดยกรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร (Inited Kingdom Civil Aviation Authority) จนเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดต่อผู้โดยสารหนึ่งคน เพิ่มขึ้นในอัตราเงินเฟ้อลบ 3% ทำให้ต้นทุนในการลงจอดจะลดลงในเชิงราคาสัมบูรณ์ โดยในช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2546 ต้นทุนการลงจอดเฉลี่ยอยู่ที่ 6.13 ปอนด์ ซึ่งใกล้เคียงกับของท่าอากาศยานแก็ตริคและท่าอากาศยานสแตนสเต็ด แต่เพื่อสะท้อนภาพความเป็นศูนย์กลางการบินที่ได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักรจึงอนุญาตให้ BAA เพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดที่อัตราเงินเฟ้อบวก 6.5% ต่อปี สำหรับช่วงห้าปีแรก และเมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 แล้วเสร็จ ก็คาดว่าจะเพิ่มค่าธรรมเนียมลงจอดเป็น 8.63 ปอนด์ ต่อผู้โดยสารหนึ่งคน

ถึงแม้ว่าค่าธณรมเนียมลงจอดจะกำหนดโดย กรมขนส่งทางอากาศของสหราชอาณาจักร และ BAA ก็ตาม แต่การเก็บค่าธรรมเนียมลงจอดที่ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะจัดเก็บโดย หน่วยงานเอกชนที่ไม่หวังผลกำไร Airport Co-ordination Limited (ACL) ซึ่งกำกับโดยกฎหมายอังกฤษและสหภาพยุโรป รวมทั้งหน่วยงานของ IATA เงินทุนของ ACL มาจาก 10 สายการบินสัญชาติอังกฤษ บริษัทท่องเที่ยง และ BAA

นอกจากนี้ กาารจราจรทางอากาศระหว่างฮีทโธรว์และสหรัฐอมเริกาจะควบคุมอย่างเข้มงวดโดยรัฐบาลของทั้งสองประเทศตามกฎบัตรเบอร์มิวด้าที่ 2 ในแรกเริ่มนั้นจะอนุญาตให้เฉพาะสายการบินบริติชแอร์เวย์ แพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ ที่สามารถบินออกจากฮีทโธรว์เข้าสู่สหรัฐอเมริกาได้ จนในปี พ.ศ. 2534 สายการบินแพนแอม และทรานส์เวิลด์แอร์ไลน์ขายสิทธิ์การบินให้กับ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ กับ อเมริกันแอร์ไลน์ ตามลำดับ ส่วนสายการบินเวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์ไลน์ ได้รับสิทธิการบินภายหลัง กฎบัตรเบอร์มิวด้านี้ไปขัดกับข้อตกลงเรื่องสิทธิการแข่งขันของสหราชอาณาจักรที่ให้ไว้กับประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ดังนั้นสหราชอาณาจักรจึงถูกสั่งให้ระงับกฎบัตรนี้ในปี พ.ศ. 2547

ท่าอากาศยานฮีโธรว์จะสามารถรองรับเครื่องบินแอร์บัส เอ 380 ได้ที่อาคารผู้โดยสาร 5 และที่ท่าจอด 6 ของอาคารผู้โดยสาร 3 โดยเครื่องบินแอร์บัส เอ380 จะให้บริการที่ฮีทโธรว์เป็นครั้งแรกในช่วงปี พ.ศ. 2550 อย่างไรก็ตามได้มีการทดสอบเครื่องเอ380 ที่ฮีทโธรว์แล้วเมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2549 [2]

ท่าอากาศยานฮีทโธรว์ถูกจัดอันดับให้เป็นท่าอากาศยานที่แย่ที่สุด ในการจัดการสำรวจของ TripAdvisor จากผู้ตอบในสอบถามกว่า 4,000 คน [3]

อนาคตของฮีทโธรว์

อาคารผู้โดยสาร 5

เมื่อ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม Stephen Byers ออกแถลงการว่ารัฐบาลอังกฤษลงมติอนุญาตให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 5 ที่ท่าอากาศยานลอนดอนฮีทโธรว์ได้ โดยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่จะสร้างอยู่ภายในบริเวณที่ดินของท่าอากาศยาน ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งมีกำหนดการว่าจะเริ่มเปิดใช้ในวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2551 เวลา 04:00 ตามเวลาท้องถิ่น และคาดว่าจะเปิดใช้เต็มประสิทธิภาพได้ในปี พ.ศ. 2558 เมื่อเสร็จสมบูรณ์ ท่าอากาศยานฮีทโธรว์จะมีขีดความสามารถรองรับผู้โดยสารได้ถึง 90 ล้านคนต่อปี จากปัจจุบันที่ 68 ล้านคนต่อปี

โดยอาคารหลังใหม่มีมูลค่ามากกว่า 4 พันล้านปอนด์ และจะมีพนักงานเพิ่นขึ้นอีกประมาณ 20,000 คน ทั้งนี้ยังจะมีการก่อสร้างอาคารผู้โดยสารระยะไกลอีกสองอาคาร ซึ่งจะเชื่อมต่อระบบระหว่างอาคารผู้โดยสาร 5 จากทางใต้ดิน และยังมีการขยายเส้นทางรถไฟใต้ดินให้เชื่อต่อจนถึงอาคารหลังใหม่ รวมถึงการต่อเส้นทางจากทางหลวง M25 เข้าเชื่อมกับอาคาร

อาคารผู้โดยสารหลังนี้ออกแบบโดย Richard Rogers Partnership โดยอาคารหลัก (คอนคอร์ด เอ) จะมี 4 ชั้น อยู่ภายใต้โครงสร้างหลังคาเดียวกัน ซึ่งจะรองรับจำนวนผู้โดยสารถึง 30 ล้านคนต่อปี และจะเป็นอาคารหลักที่บริติชแอร์เวย์ จะย้ายเที่ยวบินทั้งหมดมายังอาคารนี้ ยกเว้นเพียงเส้นทางที่ไป/มาจาก สเปน, ออสเตรเลีย และอิตาลี จากข้อมูลของ BAA นอกจากอาคารหลักแล้ว อาคารผู้โดยสาร 5 จะมีอาคารระยะไกลอีก 2 อาคาร (อาคารที่ 2 จะสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2554) จะมีหลุดจอดทั้งหมด 60 หลุดจอด รวมทั้งหอบังคับการบินหลังใหม่ อาคารจอดรถ ความจุ 4,000 คัน โรงแรมขนาด 600 เตียง และการขยายการคมนาคมให้เข้าถึงตัวอาคารผู้โดยสารหลังใหม่

อาคารผู้โดยสาร 5 จะเตรียมหลุดสำหรับ เครื่องบินแอบัส เอ380 ไว้ที่อาคารระยะไกลหลังแรก (คอนคอร์ส บี)

ทางวิ่งเส้นที่ 3

สายการบินใหญ่ๆ โดยเฉพาะบริติชแอร์เวย์ ได้เรียกร้องให้มีการสร้างทางวิ่งที่ 3 ขึ้น เพื่อรองรับการใช้งานอาคารผู้โดยสาร 5 โดยในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2546 Transport Secretary Alistair Darling ได้ออกหนังสือปกขาว http://www.dft.gov.uk/aviation/whitepaper Шаблон:En icon รายงานการวิเคราะห์อนาคตการบินของสหราชอาณาจักร ประเด็นของรายงานชุดนี้คือควรจะมีการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ภายในปี พ.ศ. 2563 และให้ข้อมูลทางด้านผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม รวมถึงการสูญเสียโบสถ์เก่าแก่ด้วย

ทั้งนี้มีการเสนอให้สร้างอาคารผู้โดยสารหลังที่ 6 เพื่อขยายขีดความสามารถจากการสร้างทางวิ่งเส้นที่ 3 ซึ่งจะทำให้รองรับผู้โดยสารได้ 115 ล้านคนต่อปี แต่ในส่วนนี้ ยังไม่ได้ระบุแน่ชัดว่าควรจะสร้างที่ใด และเมื่อไหร่

ปรับเปลี่ยนการขึ้น-ลง

มีการเสนอให้จัดระบบแบบผสม ที่สามารถให้เครื่องบินขึ้นและลงจอดได้บนทางวิ่งเดียวกัน ซึ่งในทางทฤษฎีจะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจาก 480,000 เที่ยวบินต่อปี ในปัจจุบัน เป็น 550,000 เที่ยวบินต่อปี ได้ [4]

อาคารผู้โดยสารตะวันออก

BAA ได้ออกแถลงการเมื่อเดือนพฤศจิกายนว่าอาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดลงทันทีที่อาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งาน เพื่อดำเนินการตามแผนปรับปรุงกลุ่มอาคารผู้โดยสารฝั่งตะวันออก (Heathrow East scheme) จากโครงการนี้จะทำให้ อาคารผู้โดยสาร 2 และ อาคาร Queen ถูกแทนที่ด้วยอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ที่สามารถรองรับผู้โดยสารได้ 30 ล้านคนต่อปี โครงการนี้มีกำหนดการเริ่มในปี พ.ศ. 2551 และจะสิ้นสุดในปี พ.ศ. 2555 ปีเดียวกันกับที่กรุงลอนดอนเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ทั้งนี้ BAA ยังคงรอการอนุมัติที่จะเริ่มโครงการ แต่ก็มีการยืนยันแล้วว่า อาคารผู้โดยสาร 2 จะปิดตัวลงอย่างแน่นอนไม่ว่าโครงการนี้จะได้ดำเนินการหรือไม่ [5] Шаблон:En icon

ปรับเปลี่ยนการจัดการอาคารผู้โดยสาร

เมื่ออาคารผู้โดยสาร 5 เปิดใช้งานในปี พ.ศ. 2551 อาคารผู้โดยสารจะเริ่มปรับเปลี่ยนระบบอาคารผู้โดยสารใหม่เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการกับการเคลื่อนย้ายผู้โดยสาร โดย:

  • อาคารผู้โดยสาร 1 - กลุ่มสตาร์อัลไลแอนซ์
  • อาคารผู้โดยสาร 3 - กลุ่มวันเวิลด์ ยกเว้นบริติชแอร์เวย์ (สเปน ออสเตรเลีย และอิตาลี) จะอยู่อาคารนี้จนกว่าอาคารระยะไกลที่ 2 จะแล้วเสร็จ
  • อาคารผู้โดยสาร 4 - กลุ่มสกายทีม และสายการบินที่ไม่ได้เข้าร่วมพันธมิตรสายการบินใดๆ
  • อาคารผู้โดยสาร 5 - บริติช แอร์เวย์

ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร 3

เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2550 BAA ได้ออกประกาศว่าจะปรับเปลี่ยนอาคารผู้โดยสาร 3 เพื่อลดความคับคั่ง และเพิ่มประสิทธิภาพระบบรักษาความปลอดภัย โดยจะแล้วเสร็จสิ้นปี พ.ศ. 2550

สายการบิน

อาคารผู้โดยสาร 1

  • เซาท์แอฟริกันแอร์เวย์ (เคปทาวน์, โจฮันเนสเบิร์ก)
  • ไซปรัสแอร์เวย์ (ปาโพส, ลาร์นาคา)
  • ทรานแอโร (มอสโก-โมโมเดโดโว)
  • บริติช แอร์เวย์ (กลาสโก, เคียฟ-โบริสปิล, โจฮันเนสเบิร์ก, ซานฟรานซิสโก, เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก, โซเฟีย, ดึสเซลดอร์ฟ, โตเกียว-นาริตะ, ทริโปลิ, นิวคาสเซิล, นิส, บาร์เซโลนา, บูคาเรส-โอโตเพนี, บูดาเปสต์, เบอร์ลิน-เทเกล, ปราก, แฟรงค์เฟิร์ต, มอสโคว-โมโมเดโดโว, มาดริด, มิลาน-มัลเปนซา, มิลาน-ลีนาเต, มิวนิค, แมนเชสเตอร์, โรม-ฟีอูมีชีโน, ลอสเองเจลิส, ลาร์นาคา, ลิสบอน, วอร์ซอว์, สตอกโฮล์ม-อาร์ลานดา, สตุทการ์ต, อดินเบิร์ก, อเบอร์ดีน, เอเธนส์, ฮ่องกง, อิสตันบูล-อาตาตุร์ก, เฮลซิงกิ, แฮมเบิร์ก)
    • บริติช แอร์เวย์ ที่ดำเนินการโดย จีบีแอร์เวย์ (คาซาบลังคา, มาร์ราเคค, มาลัคกา, เฟซ)
  • บีเอ็มไอ (กลาสโกว์, เจดดาห์, ดอร์แฮม ทีร์ วัลเลย์, ดับลิน, เนเปิลส์, บรัสเซลส์, เบลฟาส์ทซิตี, ปาล์มา เดอ มอลลอร์คา, มอสโค-โดโมเดโดโว, แมนเชสเตอร์, ริยาดห์, ลีดส์/แบรดฟอร์ด, ลียง, เวนิส, อดินเบิร์ก, อเบอร์ดีน, อัมสเตอร์ดัม, อินเวิร์นเนส, ฮันโอเวอร์)
    • บีเอ็มไอ ที่ดำเนินการโดย บีเอ็มอีดี (การ์ทูม, ดาการ์, ดามัสคัส, เตหราน, ทาบิริส, บากู, บิชเคก, เบรุต, ฟรีทาวน์, เยเรแวน, อเล็กซานเดรีย, อเลปโป, อัมมาน, อัลมาตี, เอกาเตรินเบิร์ก, แองการา, แอดดิสอาบาบา) (เริ่ม ตุลาคม พ.ศ. 2550)
  • ฟินน์แอร์ (เฮลซิงกิ)
  • โลท์ โปลิชแอร์เวย์ (วอร์ซอ)
  • เอลอัล (เทลอาวีฟ, โอวดา)
  • แอร์ลินกัส (คอร์ก, แชนนอน, ดับลิน)

อาคารผู้โดยสาร 2

  • คลิกแอร์ (ลา โครูญา, วาเลนเซีย)
  • โครเอเชียแอร์ไลน์ (ซาการ์ป, สปริต)
  • แจตแอร์เวย์ (เบลเกรด)
  • เชคแอร์ไลน์ (ปราก)
  • ไชน่าอีสเทิร์นแอร์ไลน์ (เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง)
  • ซีเรียนอาหรับแอร์ไลน์ (ดามาสคัส)
  • ซูดานแอร์เวย์ (คาร์ทูม)
  • ตูนิสแอร์ (ตูนิส)
  • ทาโรม (บูคาเรสท์-โอโตเพนิ)
  • ทีเอพี โปรโตกัล (ปอร์โต, ฟังคัล, แฟโร, ลิสบอน)
  • เบลวิวแอร์ไลน์ (ฟรีทาวน์, ลากอส)
  • พูลโคโว เอวิเอชั่น เอนเตอร์ไพรซ์ (เซนต์ปีเตอร์เบิร์ก)
  • ยูเครนอินเตอร์เนขั่นแนลแอร์ไลน์ (เคียฟ-โบริสปิล)
  • เยเมนเนีย (ซานา)
  • รอยัลแอร์โมร็อค (คาซาบลังคา, แทงเจียร์, มาร์ราเคก)
  • ลักซ์แอร์ (ลักแซมเบิร์ก)
  • ลิเบียนแอร์เวย์ (ทริโปลิ)
  • ลุฟต์ฮันซา (โคโลญ/โบนน์, ดึสเซลดอร์ฟ, แฟรงค์เฟิร์ต, มิวนิก, ชตุทท์การ์ท, ฮัมบูร์ก)
  • สวิตอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (ซูริค)
  • ออสเตรียนแอร์ไลน์ (เวียนนา)
  • อัลอิตาเลีย (มิลาน-มัลเปนซา, มิลาน-ลีนาเต, โรม-ฟีอูมีชีโน)
    • อัลอิตาเลีย เอ็กซ์เพรส (มิลาน-ลีนาเต)
  • อาเซอร์ไบยันแอร์ไลน์ (บากู)
  • อุสเบกิสถานแอร์เวย์ (ทาชเคนท์)
  • เอวิอองคา (โบโกตา) (เริ่มให้บริการ 2551)
  • แอร์เซย์เซลล์ (เซย์เซลล์)
  • แอร์ฟรานซ์ (ปารีส-ชาลส์ เดอ โกล)
  • แอร์ทรานแซท (โทรอนโต-เพียร์สัน)
  • แอร์อัลเจรี (อัลเจียร์)
  • แอร์อัสตานา (อัลมาตี)
  • แอโรฟลอต (มอสโค-เชเรเมเตียโว)
  • โอลิมปิกแอร์ไลน์ (เอเธนส์)
  • ไอซ์แลนด์แอร์ (เรจาวิค-เคฟลาวิค)
  • ไอบีเรีย (บิลบาว, บาร์เซโลนา, มาดริด, วาเลนเซีย)
  • เฮมุสแอร์ (โซเฟีย)

อาคารผู้โดยสาร 3

  • กัลฟ์แอร์ (บาห์เรน, มัสคัท)
  • กาตาร์แอร์เวย์ (โดฮา)
  • การบินไทย (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ)
  • คาเธย์แปซิฟิก (ฮ่องกง)
  • คูเวตแอร์เวย์ (คูเวต, นิวยอร์ก-เจเอฟเค)
  • โคเรียนแอร์ (โซล-อินชอน)
  • เจ็ตแอร์เวย์ (เดลลี, มุมไบ, อาเมดาบัด, แอมริซาร์)
  • เจแปนแอร์ไลน์ (โตเกียว-นาริตะ, โอซะกะ-คันไซ)
  • ซาอุดิอาราเบียนแอร์ไลน์ (เจดดาห์, แดมมาม, มาดินาห์ [เฉพาะบางฤดูกาล], ริยาดห์)
  • ไซปรัสเตอร์กิสแอร์ไลน์ (อิชเมียร์)
  • เตอร์กิชแอร์ไลน์ (อิสตันบูล-แอตตาตุร์ก, อิชเมียร์, แอนตัลยา)
  • เติร์กเมนิสถานแอร์ไลน์ (อาชกาบัต)
  • บริติช แอร์เวย์ (ไมอามี)
  • บีแมน บังกลาเทศ (ดากา, ดูไบ)
  • ปากีสถานอินเตอร์เนชั่นแนลแอร์ไลน์ (การาจี, ละฮอร์, อัสลามาบัด)
  • มาเลเซียแอร์ไลน์ (กัวลาลัมเปอร์)
  • มิดเดิ้ลอีสแอร์ไลน์ (เบรุต)
  • ยูไนเต็ดแอร์ไลน์ (ชิกคาโก-โอแฮร์, ซานฟรานซิสโก, ลอสแอนเจลิส, วอชิงตัน-ดัลเลส)
  • รอยัลจอร์แดเนียน (อากาดา, อัมมาน)
  • รอยัลบรูไน (ดูไบ, บันดาร์เสรีเบกาวัน)
  • เวอร์จิ้นแอตแลนติกแอร์เวย์ (เคปทาวน์, โจฮันเนสเบิร์ก, ชิกคาโก-โอแฮร์, ซานฟรานซิสโก, ซิดนีย์, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, เดลลี, โตเกียว-นาริตะ, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, นูอาร์ก, ไนโรบี, บอสตัน, พอร์ทหลุยส์ (เริ่ม 29 ตุลาคม พ.ศ. 2550), มุมไบ, ไมอามี, ลอสแอนเจลิส, โลกอส, วอชิงตัน-ดูลเลส, ฮ่องกง)
  • สแกนดิเนเวียนแอร์ไลน์ (กิรูนา (เริ่ม 18 ธันวาคม พ.ศ. 2550), โกเธนเบิร์ก-แลนด์เว็ตตาร์, โคเปนเฮเกน, สตอกโฮล์ม-อาร์แลนดา)
    • เอสเอเอส บราเอเธนส์ (สตาเวนเกอร์, ออสโล)
  • สิงคโปร์แอร์ไลน์ (สิงคโปร์)
  • อเมริกันแอร์ไลน์ (ชิกคาโก-โอแฮร์, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, บอสตัน, ไมอามี, ลอสแอนเจลิส)
  • ออลนิปปอนแอร์เวย์ (โตเกียว-นาริตะ)
  • อียิปต์แอร์ (ไคโร, ลักซอร์)
  • อีวีเอแอร์ (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, ไทเป-ไต้หวัน เถาหยวน)
  • เอติฮัดแอร์เวย์ (อาบูดาบี)
  • เอธิโอเปียนแอร์ไลน์ (โรม-ฟีอูมีชีโน, แอดดิสอาบาบา)
  • เอมิเรตส์ (ดูไบ)
  • แอร์แคนาดา (คาลแกรี, เซนต์จอห์น (เฉพาะบางฤดูกาล), โทรอนโต-เพียร์สัน, มอนทรีอัล, แวนคูเวอร์, ออตตาวา, เอ็ดมอนตัน, ฮาลิแฟก)
  • แอร์จาเมกา (คิงสตัน, มอนเตโก เบย์)
  • แอร์ไชน่า (ปักกิ่ง)
  • แอร์นิวซีแลนด์ (ลอสแอนเจลิส, โอ๊คแลนด์, ฮ่องกง)
  • แอร์มอริเชียส (พอร์ทหลุยส์)
  • แอร์อินเดีย (โกลกาตา, ชิกคาโก-โอแฮร์, เชนไน, เดลลี, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, มุมไบ, อาเมดาบัด)

อาคารผู้โดยสาร 4

  • คอนติเนนตัล แอร์ไลน์ (ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอนติเนนตัล) (เริ่มให้บริการ 2551)
  • เคนย่าแอร์เวย์ (ไนโรบี)
  • แควนตัส (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ,ซิดนีย์, เมลเบิร์น, สิงคโปร์, ฮ่องกง)
  • เคแอลเอ็ม โรยัลดัชต์แอร์ไลน์ (อัมสเตอร์ดัม)
    • เคแอลเอ็ม ซิตีฮ๊อปเปอร์ (ร๊อตเทอร์ดัม, เอียนโฮเวน)
  • เดลต้า แอร์ไลน์ (นิวยอร์ก-เจเอฟเค, แอตแลนตา) (เริ่ม 30 มีนาคม พ.ศ. 2551)
  • ทีเอเอ็ม ลินฮาสเอเรียส (เซาเปาโล-กัวรูลอส)
  • บรัสเซลแอร์ไลน์ (บรัสเซลส์)
  • บริติช แอร์เวย์ (กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ, แกรนด์เคย์แมน, คาลแกรี, คูเวต, เคปทาวน์, โคเปนเฮเกน, โคลคาตา, ไคโร, เจนีวา, ชิกคาโก-โอแฮร์, เชนไน, ซิดนีย์, ซีแอตทัล/ทาโคมา, ซูริค, เซาเปาโล-กัวรูลอส, เซี่ยงไฮ้-ผู่ตง, ดากา, ดาร์อิสซาลาม, ดีทรอยต์, ดูไบ, เดนเวอร์, เดลลี, โดฮา, โทรอนโต-เพียร์สัน, เทลอาวีฟ, นิวยอร์ก-เจเอฟเค, นูอาร์ก, แนสซัว, ไนโรบี, บรัสเซลส์, บอสตัน, บังกาลอร์, บัลติมอร์/วอชิงตัน, บาเซล/มุลเฮาส์, บาห์เรน, บูโนสไอเรส-อีไซซา, เบลเกรด, ปักกิ่ง, ปารี-ชาลส์ เดอ โกล, โปรวิเดนเชียลส์, ฟิลาเดลเฟีย, ฟีนิกซ์, มอนทรีอัล, มอริเชียส, มัสคัท, มานากัว, มุมไบ, เม็กซิโกซิตี, ริโอ เดอ จาเนโร-กาลาโอ, ลากอส, ลียง, ลูอันดา, วอชิงตัน-ดัลเลส, เวียนนา, แวนคูเวอร์, สิงคโปร์, ออสโล, อักกรา, อัมสเตอร์ดัม, อาบูจา, อาบูดาบี, อิสลามาบัด, เอ็นเทบเบ, ฮาราเร, ฮิวส์ตัน-อินเตอร์คอรติเนนตัล)
  • ศรีลังกาแอร์ไลน์ (โคลัมโบ, มาเล)
  • แอร์มอลตา (ลูคา)

อ้างอิง

Шаблон:รายการอ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

Шаблон:คอมมอนส์-หมวดหมู่

อยู่ในหมวดต่อไปนี้:
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
Jon Connolly
29 november 2017
Always enjoying coming to London. Great airport and the people have always been friendly. Lounges are amazing...I recommend “Aspire - Lounge and Spa (Term 5)”. AMAZING food, open bar, and showers.
Robert Lazare
2 november 2017
Use the underground walkway to stretch your legs after a long flight. The walkway between A, B and C is calm and nice and you can make quick progress if you use the horizontal escalators(?).
Michael C
7 july 2017
Great selection of shops and snacks. Check in is well organized and layout is convenient. I never mind arriving early for my flight.
Jeffrey Zeldman
30 november 2013
Returning US travelers, security is between Areas D and E, and is super fast with a Fast Track ticket. Even with per screened ticket, though, you still need to remove laptop, iPad, liquids, shoes.
Y.Arman Barlas
4 december 2016
Terminal 2, has plenty of seating available, though not much privacy and the lights tend to stay brightly lit.
Y.Arman Barlas
28 november 2016
Every day at Heathrow 1,400 flights take off and land – one every 45 seconds and nearly half a million per year. You should use underground (Piccadilly Line) from here to city center.

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Spectacular Strand 2 bed apartment!!

ตั้งแต่วันที่ $0

Amba Hotel Charing Cross

ตั้งแต่วันที่ $645

1 Compton

ตั้งแต่วันที่ $0

Clarendon Serviced Apartments - Chandos Place

ตั้งแต่วันที่ $0

The Grand at Trafalgar Square

ตั้งแต่วันที่ $418

Amba Hotel Charing Cross

ตั้งแต่วันที่ $0

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
View Heathrow

View Heathrow

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Air Forces Memorial

The Air Forces Memorial, or Runnymede Memorial, near Egham, Surrey,

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Thorpe Park

Thorpe Park is a theme park located in Chertsey, Surrey, United

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Stealth (roller coaster)

Stealth is a steel roller coaster built by Intamin AG of Switzerland.

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Polish War Memorial

The Polish War Memorial is a memorial erected to remember the

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Frogmore House

Frogmore House is a 17th-century country house standing at the centre

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Chertsey Abbey

Chertsey Abbey, dedicated to St Peter, was a Benedictine monastery

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พระราชวังวินด์เซอร์

พระราชวังวินด์เซอร์ (ภาษาอังกฤษ: Windsor Castle) เป็นพระร

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี

ท่าอากาศยานสิงคโปร์ชางงี หรือเรียกโดยทั่วไปว่าสนามบินชางงี ตั้งอยู่ในเขต

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด

ท่าอากาศยานนานาชาติฮาหมัด (IATA: DOH, ICAO: OTHH) (อาหรับ: مطار حم

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน

ท่าอากาศยานนานาชาติอินช็อน (ฮังกึล: 인천국제공항, ฮันจา: 仁川國際空港) ตั้งอยู่ที่เกาะยางจ

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ

ท่าอากาศยานชินชิโตเซะ (ญี่ปุ่น: 新千歳空港 ชินชิโตเซะ คูโก, อัง

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Antalya Airport

Antalya Airport Шаблон:Airport codes is Шаблон:Convert northeast o

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด