วังเบล็นไฮม์

วังเบล็นไฮม์ หรือ คฤหาสน์เบล็นไฮม์ (ภาษาอังกฤษ: Blenheim Palace) เป็นคฤหาสน์ที่สร้างอย่างวังตั้งอยู่ที่วูดสต็อคในมลฑลอ๊อกซฟอร์ดเชอร์ในอังกฤษ สร้างโดยซาราห์ เชอร์ชิลล์ ดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 เป็นสถาปัตยกรรมแบบวัง โดยมี จอห์น แวนบรูห์ (John Vanbrugh) เป็นสถาปนิก เบล็นไฮม์เป็นสิ่งก่อสร้างที่มิใช่วังของบาทหลวงที่ใช้ชื่อว่า “วัง” แห่งเดียวในอังกฤษ

ดูสิ่งนี้ด้วย

จุดประสงค์ของการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกก็เพื่อเป็นของขวัญสำหรับจอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลเบรอเพื่อเป็นการตอบแทนในฐานะที่เป็นแม่ทัพที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสและบาวาเรีย แต่ต่อมาเบล็นไฮม์กลายเป็นปัญหาในการต่อสู้ทางการเมืองซึ่งเป็นผลทำให้ดยุคแห่งมาร์ลเบรอและดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอสิ้นอำนาจ รวมทั้งการเสียชื่อเสียงของสถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ ตัววังสร้างเป็นแบบบาโรก ปฏิกิริยาหรือคุณค่าต่อสิ่งก่อสร้างก็ยังไม่เป็นที่ตกลงกันได้เช่นเดียวกับในสมัยเมื่อเริ่มสร้างในคริสต์ทศวรรษ 1720 ตัวสิ่งก่อสร้างเป็นลักษณะที่ผสมระหว่างที่อยู่อาศัย, ที่เก็บศพ และ อนุสาวรีย์ นอกจากนั้นสิ่งที่น่าสนใจคือเป็นที่เกิดของวินสตัน เชอร์ชิลล์อดีตนายกรัฐมนตรีคนสำคัญของอังกฤษ

คำจารึกเหนือประตูใหญ่ทางตะวันออกบอกประวัติของสิ่งก่อสร้าง:

“ภายใต้พระมหากรุณาธิคุณของพระมหากษัตรีย์ผู้ทรงพระปรีชาสามารถ คฤหาสน์หลังนี้สร้างขึ้นเพื่อจอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลเบรอ และ ดัชเชสซาราห์ โดยเซอร์จอห์น แวนบรูห์ ระหว่างปี ค.ศ. 1705 ถึง ค.ศ. 1722 สมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่พระราชทานคฤหาสน์หลวงแห่งวูดสต็อคพร้อมทั้งทุนจำนวน £240,000 เพื่อการสร้างเบล็นไฮม์โดยการอนุมัติจากรัฐสภา”

แต่ตามความเป็นจริงแล้วความสำเร็จของการสร้างเบล็นไฮม์เป็นผลจากความทะเยอทะยานของซาราห์ เชอร์ชิลล์เป็นส่วนใหญ่ หลังจากสร้างเสร็จเบล็นไฮม์ก็กลายเป็นที่พำนักของตระกูลเชอร์ชิลล์มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาได้ราว 300 ปี ในระหว่างนั้นตัววังและอุทยานก็ได้รับการเปลื่ยนแปลงมาตลอด เมื่อปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ตระกูลมาร์ลเบรอก็ประสพปัญหาทางการเงินจนต้องขายทรัพย์สมบัติสำคัญๆ ไปบ้าง แต่การแต่งงานกับสตรีชาวอเมริกันก็ช่วยนำเงินมารักษาเบล็นไฮม์ให้ยังอยู่ในสภาพดังเช่นเมื่อเริ่มสร้าง

ครอบครัวเชอร์ชิลล์

]] ]] จอห์น เชอร์ชิลล์ ดยุคแห่งมาร์ลเบรอที่ 1 เกิดในแคว้นเดวอนทางใต้ของอังกฤษ แม้ว่าจะมีเชื้อสายเกี่ยวข้องกับเจ้านายแต่ครอบครัวเชอร์ชิลล์ก็มาจากเพียงผู้ดีท้องถิ่น (gentry) มิใช่ผู้มีฐานะที่เป็นที่รู้จักกันเท่าใดนักในสังคมของคริสต์ศตวรรษที่ 18 จอห์น เชอร์ชิลล์รับราชการเป็นทหารเมื่อปี ค.ศ. 1667 และประจำการครั้งแรกที่แทนเจียรส์ หลังจากนั้นก็ถูกส่งไปช่วยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส ในการทำสงครามกับเนเธอร์แลนด์เมื่อได้รับเลื่อนตำแหน่งเป็นนายพัน ในปี ค.ศ. 1678 จอห์น เชอร์ชิลล์แต่งงานกับ ซาราห์ เจ็นนิงส์ เจ็ดปีต่อมาในรัชสมัยของพระเจ้าเจมส์ที่ 2เชอร์ชิลล์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นบารอน เชอร์ชิลล์เป็นผู้นำในการปราบกบฏมอนมอธ (Monmouth Rebellion) เมื่อพระเจ้าวิลเลียมที่ 3 ขึ้นครองราชย์เชอร์ชิลล์ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเอิร์ลแห่งมาร์ลเบรอ

ระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเชอร์ชิลล์ก็เป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงโดยได้รับชัยชนะในการยุทธการต่างๆ หลายครั้งเริ่มตั้งแต่ปี ค.ศ. 1702: ยุทธการเบล็นไฮม์ ในปี ค.ศ. 1704, ยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) ในปี ค.ศ. 1706, ยุทธการอูเดนาร์ด (Battle of Oudenarde) ในปี ค.ศ. 1708 และ ยุทธการมาลพลาเคท์ (Battle of Malplaquet) ในปี ค.ศ. 1709 ชัยชนะที่ได้รับทำให้อังกฤษปลอดภัยจากกองทัพของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เชอร์ชิลล์จึงกลายเป็นวีระบุรุษในอังกฤษได้รับรางวัลต่างๆ รวมทั้งตำแหน่งดยุคแห่งมาร์ลเบรอ กล่าวกันว่าระหว่างจอห์น และซาราห์ เชอร์ชิลล์ผู้เป็นพระสหายสนิทของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ จอห์น เชอร์ชิลล์ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นผู้ปกครองอังกฤษ ฉะนั้นจึงไม่น่าเป็นที่แปลกใจที่เชอร์ชิลล์จะได้รับพระราชทานวังเป็นการตอบแทน จอห์น เชอร์ชิลล์ได้รับพระราชทานที่ดินที่วูดสต็อคให้เป็นที่สร้างวังใหม่และรัฐสภาอนุมัติเงินก้อนใหญ่เพื่อใช้ในการก่อสร้าง

กล่าวกันว่าซาราห์ เชอร์ชิลล์ภรรยาของจอห์น เชอร์ชิลล์เป็นสตรีที่มีหัวรุนแรงและมีอารมณ์ร้ายแต่ก็สามารถทำตนให้เป็นผู้มีเสน่ห์ได้ ซาราห์ เชอร์ชิลล์เป็นพระสหายสนิทของพระราชินีนาถแอนน์ตั้งแต่ยังมิได้ขึ้นครองราชย์ นอกจากนั้นยังมีตำแหน่งเป็น “เจ้ากรมพระภูษามาลา” (Mistress of the Robes) ซึ่งเป็นตำแหน่งสูงสุดของสตรีประจำราชสำนัก ผู้มีหน้าที่ดูแลพระภูษามาลาและเครื่องเพชรพลอยของพระราชินีนาถแอนน์ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างซาราห์และพระราชินีนาถแอนน์มาสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1711 ซึ่งหมายถึงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างเบล็นไฮม์ก็มาหยุดชะงักลงตามไปด้วย หลังจากนั้นจอห์นและซาราห์ก็ต้องลี้ภัยไปต่างประเทศจนพระราชินีนาถแอนน์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714 จึงได้กลับมา

ที่ตั้ง

วังเบล็นไฮม์เป็นของขวัญที่อังกฤษมอบให้แก่ดยุคแห่งมาร์ลเบรอแทนคฤหาสน์วูดสต็อคหรือบางครั้งก็เรียกว่าวังแห่งวูดสต็อคซึ่งเดิมเป็นวังที่ไม่ใหญ่ไปกว่าตำหนักล่าสัตว์ (Hunting Lodge) ที่เดิมเป็นของหลวง ตำนานความเป็นมาของวูดสต็อคออกจะลางเลือนบ้างก็ว่าเป็นตำหนักที่พระเจ้าเฮนรีที่ 1 ทรงใช้เป็นอุทยานสำหรับเลี้ยงกวาง หรือในสมัย พระเจ้าเฮนรีที่ 2 ทรงมอบให้เป็นที่อยู่ของโรสมุนด์ คลิฟฟอร์ดพระสนม หรือที่รู้จักกันในนามว่า “Fair Rosamund” บ่อน้ำพุที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่อาบน้ำของโรสมุนด์ก็ยังตั้งอยู่ภายในบริเวณอุทยาน ดูเหมือนว่าตำหนักล่าสัตว์ถูกสร้างและบูรณะหลายครั้งแต่ไม่มีความสำคัญเท่าใดนักมาจนเมื่อเจ้าหญิงเอลิสซาเบ็ทถูกจำขังก่อนที่จะขึ้นครองราชย์เป็นสมเด็จพระราชินีนาถเอลิสซาเบ็ทที่ 1 โดยพระราชินีนาถแมรีผู้เป็นพระขนิษฐาระหว่างปี ค.ศ. 1554 - ค.ศ. 1555 เจ้าหญิงเอลิสซาเบ็ทถูกกล่าวหาในฐานะที่มีส่วนในกบฏไวแอ็ท (Wyatt plot) ต่อมาตำหนักวูดสต็อคก็มาถูกทำลายโดยกองทหารของออลิเวอร์ ครอมเวลล์ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษ เมื่อซาราห์ ดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอคิดจะสร้างวังเบล็นไฮม์ ซาราห์มีความประสงค์ที่จะทำลายซากตำหนักวูดสต็อคแต่สถาปนิกจอห์น แวนบรูห์ต้องการที่จะบูรณะไว้เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของสวนภูมิทัศน์ แต่แวนบรูห์สู้ความประสงค์ของซาราห์ไม่ได้ ซากต่างๆ ของตำหนักเดิมจึงถูกทำลายลงหมด

สถาปนิก

ผู้ที่ได้รับเลือกให้เป็นสถาปนิกในการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์เป็นสถาปนิกที่มิได้รับเลือกอย่างเป็นเอกฉันท์ ซาราห์มีความนิยมในตัวคริสโตเฟอร์ เร็นผู้มีชื่อเสียงมาจากการออกแบบมหาวิหารเซนต์พอลและสิ่งก่อสร้างสำคัญๆ อีกหลายแห่ง แต่ดยุคพบจอห์น แวนบรูห์โดยบังเอิญที่โรงละครและเกิดความประทับใจจนตกลงให้สัญญาในการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์ในโอกาสนั้น จอห์น แวนบรูห์เป็นนักออกแบบฉากละครผู้เป็นที่นิยม แวนบรูห์ไม่มีการศึกษาอย่างเป็นทางการทางสถาปัตยกรรมแต่มักจะทำงานร่วมกับนิโคลัส ฮอคสมัวร์ (Nicholas Hawksmoor) ผู้ได้รับการฝึกโดยตรงมาทางสถาปัตยกรรม แวนบรูห์และฮอคสมัวร์เพิ่งสร้างปราสาทฮาวเวิร์ดขั้นแรกเสร็จ ปราสาทฮาวเวิร์ดเป็นคฤหาสน์แรกที่สร้างแบบบาโรกของยุโรปอย่างหรูหราในอังกฤษ ดยุคคงมีความประทับใจในลักษณะการก่อสร้างและคงอยากสร้างสิ่งก่อสร้างที่แบบเดียวกันที่วูดสต็อค

แต่การสร้างวังเบล็นไฮม์มิได้เป็นไปตามที่คาดเพราะความขัดแย้งในเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่ทำให้แวนบรูห์ถูกกล่าวหาว่าเป็นแบบที่หรูหราเกินกว่าเหตุและไม่เหมาะสมจากพรรควิกผู้มีอำนาจในการปกครองอังกฤษในขณะนั้น ในขณะเดียวกันแวนบรูห์ก็ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากซาราห์เพราะความที่ผิดหวังจากการที่ไม่ได้คริสโตเฟอร์ เร็นมาเป็นสถาปนิก ซาราห์จึงมักจะขัดจอห์น แวนบรูห์ไปเสียทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นเรื่องผังการออกแบบไปจนถึงรสนิยม แต่อันที่จริงแล้วปัญหาส่วนหนึ่งมาจากความต้องการของรัฐบาลและซาราห์ที่ไม่ตรงกันกับสถาปนิก รัฐบาลผู้เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างต้องการสร้างสิ่งที่ควรค่าต่อการเป็นอนุสาวรีย์ แต่ซาราห์นอกจากจะต้องการสิ่งก่อสร้างที่ควรค่าต่อสามีแล้วก็ยังต้องการจะสร้างบ้านที่เหมาะสมต่อการอยู่อาศัย ความประสงค์สองอย่างนี้ออกจะขัดแย้งกันในการออกแบบสิ่งก่อสร้างในคริสต์ศตวรรษที่ 18 ปัญหาอีกประการหนึ่งคือระหว่างการก่อสร้างเมื่อเริ่มแรกดยุคมักจะออกสงครามทิ้งให้ซาราห์เป็นผู้ควบคุมการก่อสร้างเพียงลำพังกับจอห์น แวนบรูห์ เพราะความที่ทราบว่างบประมาณในการก่อสร้างมีจำนวนจำกัด ซาราห์จึงพยายามยับยั้งความคิดอันเลิศลอยต่างๆ ของแวนบรูห์ แต่ซาราห์มักจะทำด้วยอารมณ์แทนที่จะด้วยเหตุผลที่แท้จริงซึ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองคนเต็มไปด้วยความขัดแย้ง

หลังจากการเปลี่ยนแปลงแบบครั้งสุดท้ายเซอร์จอห์น แวนบรูห์ก็ถูกห้ามเข้ามาเกี่ยวข้องกับการสร้างวังเบล็นไฮม์โดยสิ้นเชิง แต่แวนบรูห์ก็ได้ถือโอกาสไปดูวังเบล็นไฮม์ขณะที่ดัชเชสมาร์ลเบรอไม่อยู่ในปี ค.ศ. 1719 แต่ในปี ค.ศ. 1725 แวนบรูห์และภรรยาถูกห้ามเข้าแม้แต่จะชมเพียงอุทยาน เมื่อพยายามเข้าชมวังเบล็นไฮม์เมื่อสร้างเสร็จในฐานะผู้ชมทั่วไป หลังจากจอห์น แวนบรูห์ออกจากโครงการนิโคลัส ฮอคสมัวร์ก็เป็นผู้ดูแลการก่อสร้างต่อจนเสร็จ

แบบบาโรกของวังเบล็นไฮม์ของเซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นที่ต้องตาต้องใจของสาธารณะชนและในที่สุดก็กลายมาเป็นแบบที่เข้ามาแทนสถาปัตยกรรมแบบพาเลเดียน ส่วนแวนบรูห์ตั้งแต่หลังจากที่มีปัญหาในโครงการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์ก็มิได้รับสัญญาก่อสร้างโครงการใหญ่อื่นๆ อีกนอกจากคฤหาสน์ซีตัน เดอลาวาลซื่งเป็นงานออกแบบชิ้นสุดท้ายที่ถือว่าเป็นงานชิ้นเอกที่แวนบรูห์นำแบบบาโรกที่ใช้ที่วังเบล็นไฮม์มาประยุกต์ แต่แวนบรูห์มาเสียชีวิตไม่นานก่อนที่คฤหาสน์ซีตัน เดอลาวาลจะสร้างเสร็จ

ทุนการก่อสร้าง

ผู้ใดหรือองค์การใดบ้างที่เป็นผู้มีความรับผิดชอบในเรื่องค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์ยังไม่เป็นที่ชัดเจนมาจนถึงปัจจุบันนี้ แต่ที่แน่คือรัฐบาลอังกฤษนำโดยพระราชินีนาถแอนน์ต้องการมอบที่พำนักอันเหมาะสมต่อวีรบุรุษของชาติ แต่ความใหญ่โตเท่าใดที่จะมอบให้เป็นปัญหาที่ไม่มีคำตอบที่ชัดเจน ประกาศในปี ค.ศ. 1705 ลงนามโดยองคมนตรีการคลัง ซิดนีย์ โกโดลฟิน เอิร์ลแห่งโกโดลฟินที่ 1 (Sidney Godolphin, 1st Earl of Godolphin) แต่งตั้งให้เซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นสถาปนิกและบรรยายโครงการตามที่แวนบรูห์เสนอ แต่ในประกาศมิได้ระบุพระนามของพระราชินีนาถแอนน์หรือรัฐบาลแต่อย่างใด ซึ่งเป็นผลทำให้รัฐบาลสามารถบ่ายเบี่ยงในความรับผิดชอบเมื่อเรื่องการเมืองและค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างเริ่มจะเป็นปัญหามากขึ้น และที่น่าสนใจคือเมื่อวังเบล็นไฮม์ถูกมอบให้ดยุคแห่งมาร์ลเบรอภายในไม่กี่เดือนหลังจากที่ได้รับชัยชนะในยุทธการเบล็นไฮม์ ในขณะที่ดยุคมาร์ลเบรอยังคงติดพันกับการยุทธการอยู่ในยุโรป

ในปี ค.ศ. 1705 เมื่อเริ่มการก่อสร้างดยุคมาร์ลเบรอออกเงินส่วนตัวไปทั้งสิ้นจำนวน £60,000 รัฐบาลลงมติสมทบทุนในการก่อสร้างแต่มิได้ระบุเป็นที่แน่นอนถึงจำนวนเงิน และจำนวนเงินสำหรับค่าใช้จ่ายที่เกินเลยไปจากงบประมาณเดิมที่ตั้งไว้ ฉะนั้นเงินทุนในการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์จึงเป็นปัญหามาตั้งแต่เริ่มโครงการ พระราชินีนาถแอนน์เองพระราชทานทรัพย์บางส่วนเมื่อเริ่มแรกแต่ต่อมาก็เริ่มที่จะไม่ทรงเต็มพระทัยที่จะพระราชทานเพิ่ม ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากความขัดแย้งส่วนพระองค์กับดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอพระสหายสนิทที่เพิ่มมากขึ้น หลังจากที่เกิดความขัดแย้งครั้งสุดท้ายเมื่อปี ค.ศ. 1712 เงินทุนจากรัฐบาลทั้งหมดก็ถูกยุบเลิก ขณะที่โครงการลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น £220,000 ในจำนวนนั้น £45,000 เป็นค่าจ้างแรงงาน ซึ่งเป็นสาเหตที่ทำให้ดยุคและดัชเชสมาร์ลเบรอต้องหนีหนี้และลี้ภัยไปยังแผ่นดินใหญ่ยุโรปและไม่ได้กลับมาอังกฤษจนพระราชินีนาถแอนน์เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1714

เมื่อกลับอังกฤษดยุคแห่งมาร์ลเบรอผู้ขณะนั้นมีอายุได้ 64 ปีก็ตัดสินใจสร้างวังเบล็นไฮม์ให้เสร็จด้วยเงินทุนส่วนตัว โครงการสร้างจึงเริ่มขึ้นอีกครั้งหนึ่งในปี ค.ศ. 1716 แต่ก็ด้วยงบประมาณที่จำกัด ในปี ค.ศ. 1717 ดยุ้คมาร์ลเบรอก็ล้มป่วยลงด้วย severe stroke ซึ่งทำให้ดัชเชสมาร์ลเบรอกลายเป็นผู้รับผิดชอบในการดูแลโครงการต่อมา ดัชเชสกล่าวหาว่าเซอร์จอห์น แวนบรูห์เป็นผู้ที่ทำให้ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างสูงกว่าที่ควรจะเป็นและเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมที่ดัชเชสเองก็ไม่เคยถูกใจมาตั้งแต่ต้น หลังจากความขัดแย้งครั้งนั้นเซอร์จอห์น แวนบรูห์ก็ออกจากโครงการ ช่างหิน ช่างก่อสร้างและช่างฝีมืออื่นๆ ที่ดัชเชสจ้างหลังจากนั้นก็มีฝีมือที่ด้อยกว่าช่างที่แวนบรูห์จ้าง ช่างฝีมือเช่น กรินนิง กิบบอนส์ไม่ยอมทำงานให้กับดัชเชสเมื่อค่าแรงงานต่ำกว่าที่เคยได้รับ แต่กระนั้นช่างชุดหลังนำโดยช่างทำเฟอร์นิเจอร์เจมส์ มัวร์ก็สามารถเลียนแบบช่างชุดแรกได้จนเสร็จ

หลังจากที่ดยุ้คมาร์ลเบรอถึงแก่อสัญกรรมในปี ค.ศ. 1722 การสร้างวังเบล็นไฮม์และอุทยานให้เสร็จกลายมาเป็นโครงการสำคัญของดัชเชสมาร์ลเบรอ ในปี ค.ศ. 1723 นิโคลัส ฮอคสมัวร์ถูกเรียกตัวกลับมาให้ออกแบบ "ประตูชัย" ที่ทางเข้าวูดสต็อคตามแบบประตูชัยไททัส (Arch of Titus) นอกจากนั้นฮอคสมัวร์ก็ยังออกแบบการตกแต่งภายในของห้องสมุด; เพดานห้องทางการต่างๆ; รายละเอียดห้องรองๆ อีกหลายห้อง; และอาคารภายนอกอีกหลายหลัง ดัชเชสดูแลการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์เป็นเกียรติแก่ดยุคแห่งมาร์ลเบรอจนสำเร็จโดยใช้งบประมาณที่น้อยลงกว่าเดิมและใช้ช่างฝีมือที่ด้อยกว่าแต่ถูกกว่าทำในบริเวณที่ไม่เด่น วันสร้างเสร็จไม่เป็นที่ทราบแน่นอนแต่ในปี ค.ศ. 1735 ดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอก็ยังต่อรองราคารูปปั้นของพระราชินีนาถแอนน์สำหรับตั้งในห้องสมุด ในปี ค.ศ. 1732 ดัชเชสบันทึก “ชาเปลสร้างเสร็จและกว่าครึ่งของที่บรรจุศพพร้อมที่จะก่อตั้ง”

แบบและสถาปัตยกรรม

H2:ชาเปล; O:ห้องโบว์]]

ผังวังเบล็นไฮม์ของแวนบรูห์เป็นแผนแบบได้สัดส่วนที่ดูเด่นเมื่อมองมายังตัววังจากที่ไกล เนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 7 เอเคอร์หรือ 28,000 ตารางเมตร เมื่อดูใกล้ลักษณะด้านหน้าของตัวอาคารประกอบด้วยงานหินและสิ่งตกแต่งที่ทำให้ดูหนักกว่าที่ควรจะเป็น

ผังของวังเบล็นไฮม์เป็นสี่เหลี่ยมใหญ่ จากด้านหน้าทางใต้เป็นห้องพักเอก (state apartment) ทางตะวันออกเป็นห้องพักส่วนตัว (private apartment) ของดยุคและดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอ ทางด้านตะวันตกทั้งแนวแต่เดิมออกแบบเพื่อให้เป็นระเบียงสำหรับแขวนภาพเขียน บล็อกกลางกระหนาบสองข้างด้วยบล็อกสี่เหลี่ยมสองข้างล้อมลานสี่เหลี่ยม บล็อกทางตะวันออกของตัวอาคารเป็นครัว บริเวณซักเสื้อผ้า และห้องทำงานที่เกี่ยวกับการดูแลวัง ทางตะวันตกติดกับชาเปลเป็นโรงม้าและที่สอนการขี่ม้าภายในตัวอาคาร บล็อกกลางและบล็อกทางตะวันออกและตะวันตกออกแบบเพื่อให้ผู้ดูเกิดความประทับใจเมื่อมาถึงวัง นอกจากนั้นก็ยังเต็มไปด้วยเสา รูปปั้นแบบเรเนอซองค์ และสิ่งตกแต่งต่างๆ ทำให้เหมือนเมืองเล็กๆ ที่เมื่อมองขึ้นไปทำให้ผู้ดูจะมีความรู้สึกเหมือนยืนอยู่ภายใต้ลานหน้ามหาวิหารเซนต์ปีเตอร์ ที่กรุงโรมและไม่มีความสลักสำคัญเมื่อเทียบกับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง สิ่งตกแต่งอื่นๆ รอบๆ เป็นฝีมือของช่างชั้นครูเช่นกรินลิง กิบบอนส์ (Grinling Gibbons)

ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 การออกแบบที่อยู่อาศัยเพื่อให้ความสะดวกสบายของผู้อยู่อาศัยเป็นความสำคัญรองจากความสง่างามของสิ่งก่อสร้าง โดยเฉพาะในการก่อสร้างวังเบล็นไฮม์สถาปนิกคำนึงถึงการสร้างสิ่งก่อสร้างที่มิใช่แต่จะเป็นเพียงเป็นที่อยู่อาศัยแต่เป็นอนุสาวรีย์ที่แสดงถึงความมีอำนาจและความมีวัฒนธรรมอันสูงส่งของชาติ ในการที่จะสร้างสิ่งก่อสร้างให้เป็นอนุสาวรีย์แวนบรูห์เลือกสถาปัตยกรรมแบบบาโรกแต่เป็นบาโรกแบบทิ้งความอ่อนช้อย แวนบรูห์ใช้ความใหญ่โตและความหนักของหินเพื่อแสดงความแข็งแกร่งและใช้แสงเงาของโครงสร้างเป็นเครื่องตกแต่ง แบบทางเข้าที่ขึงขังใหญ่โตทางด้านเหนือเลียนแบบทางเข้าตึกแพนเธียน (pantheon) ในกรุงโรมมากกว่าที่จะเป็นทางเข้าที่อยู่อาศัย นอกจากนั้นแวนบรูห์ก็ยังใช้ "บรรยากาศปราสาท" (castle air) โดยการตกแต่งด้วยหอเตี้ยๆ แต่ละมุมของบล็อกและบนหอก็ตกแต่งซ่อนปล่องไฟ ตัวหอทำให้นึกถึงทางเข้าของวัดของอียิปต์โบราณซึ่งทำให้ผู้เดินเข้ามีความรู้สึกว่าเหมือนแพนเธียนมากขึ้นไปอีก

วังเบล็นไฮม์มีทางไปสู่ตัววังสองทาง ทางหนึ่งเป็นถนนที่ตรงไปยังประตูเหล็กดัดเข้าสู่ลานเอก (the Great Court) อีกทางหนึ่งเป็นทางที่น่าประทับใจยิ่งไปกว่าทางแรก ทางลานตะวันออกเป็นประตูตะวันออก (East Gate) ที่ออกแบบเช่นเดียวกับประตูชัยของโรมันแต่ลักษณะออกไปทางอียิปต์มากกว่าโรมัน ตอนบนของประตูแคบกว่าตอนล่างทำให้ดูเหมือนว่าประตูสูงกว่าความเป็นจริง ตัวประตูใช้เป็นที่เก็บน้ำสำหรับใช้ในวัง จากประตูมองผ่านลานตะวันออกไปจะเห็นประตูที่สองภายใต้หอนาฬิกา การใช้ความลึกและมองเห็นสิ่งก่อสร้างภายในได้เพียงบางส่วนนี้ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกเหมือนมองเข้าไปยังสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นสถานที่สำคัญสำหรับเป็นที่พำนักสำหรับผู้เป็นเจ้าของ

การเน้นความสำคัญของดยุคว่าเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่มิใช่แสดงออกแต่เพียงภายนอกตัวอาคารแต่รวมไปถึงการตกแต่งภายในและการตกแต่งอุทยานด้วย สิ่งที่แสดงความสำเร็จในชีวิตของดยุคเริ่มด้วย "เสาชัย" ซึ่งเป็นเสาสูงที่มีรูปปั้นของดยุคตั้งอยู่บนแท่นตอนบนสุดของเสาและรายละเอียดของชัยชนะในยุทธการต่างๆ ทางเข้าตัววังนำไปสู่ซุ้มใหญ่และโถงรับรอง ซึ่งมีภาพเขียนโดยเจมส์ ธอร์นฮิลล์ของดยุคบนเพดาน จากนั้นก็เป็นประตูทางเข้าใหญ่สลักด้วยหินอ่อนและมีคำขวัญของดยุคจารึกอยู่ข้างบนว่า "Nor could Augustus better calm mankind" ไปยังห้องรับรอง (Saloon) ซึ่งเป็นห้องที่ได้รับการตกแต่งมากที่สุด ซึ่งเป็นที่ที่ตั้งใจจะให้ตัวดยุคนั่งบนบัลลังก์

หนัก 30 ตัน ที่ดยุคแห่งมาร์ลเบรอยึดมาจากทอเนย์ในปี ค.ศ. 1709 การใช้รูปปั้นครึ่งตัวเป็นสิ่งตกแต่งด้านหน้าอาคารเป็นของใหม่]]

ความตั้งใจของสถาปนิกก็เพื่อจะแสดงให้เห็นถึงชัยชนะของดยุคแห่งมาร์ลเบรอที่มีต่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 แต่ดยุคมาถึงแก่อสัญกรรมเสียก่อนที่จะเสร็จ ความสำคัญในการก่อสร้างจึงเปลี่ยนไปเป็นการสร้างชาเปล เอิร์ลโกโดลฟินเพื่อนของดยุคเปลี่ยนที่ตั้งแท่นบูชาจากทางตะวันออกที่ตั้งกันตามปกติไปเป็นทางตะวันตก ซึ่งอนุสรณ์มหึมาและโลงหินของดยุคกลายเป็นสิ่งที่เด่นโดยไม่มีอะไรมาลบ ดัชเชสจ้างวิลเลียม เค้นท์ให้เป็นผู้สร้างอนุสรณ์โดยมีตัวดยุคเป็นจูเลียส ซีซาร์ และดัชเชสเป็นซีซารินา รูปแกะนูนที่ฐานเป็นการแสดงความพ่ายแพ้ของจอมพลทาลลาร์ด Marshal Tallard เมื่อสร้างชาเปลเสร็จร่างของดยุคก็ถูกนำกลับมาเบล็นไฮม์จากแอบบีเวสต์มินสเตอร์ ร่างของดยุคและดัชเชสแห่งมาร์ลเบรอคนต่อๆ มาก็ถูกฝังภายใต้ห้องใต้ดินภายในชาเปล

ภายใน

ตำแหน่งการวางห้องต่างๆในวังเบล็นไฮม์เป็นไปตามธรรมเนียมการออกแบบในยุคนั้น โดยมีห้องพักเอกที่เรียงตามลำดับความสำคัญจากที่สำคัญน้อยที่สุดไปยังห้องที่สำคัญที่สุด คฤหาสน์หรือวังอย่างเช่นเบล็นไฮม์จะมีห้องหลักสองชุดและห้องที่สำคัญที่สุดในตัวอาคารคือห้องรับรองกลาง (Central Saloon (B)) ซึ่งใช้เป็นห้องเลี้ยงรับรองอย่างเป็นทางการ ถัดสองข้างห้องรับรองกลางออกไปจึงจะเป็นห้องหลักทั้งสองชุดลดหลั่นความสำคัญลงตามลำดับจากห้องรับรองกลาง แต่ขณะเดียวกันก็เพิ่มความเป็นส่วนตัวมากขึ้น: ห้องแรก (C) เป็นห้องรับแขกสำคัญๆ, ถัดไป L เป็นห้องนั่งเล่นส่วนตัว, ต่อจากนั้น M เป็นห้องนอนซึ่งเป็นห้องที่เป็นส่วนตัวที่สุด ห้องเล็กระหว่างห้องนอนและลานภายในตั้งใจจะออกแบบให้เป็นห้องแต่งตัว ตำแหน่งการจัดห้องหลักชุดที่สองก็เช่นเดียวกันกับชุดแรก ห้องพักเอกต่างๆ เป็นห้องที่สร้างขึ้นสำหรับแขกสำคัญๆ เช่นพระมหากษัตริย์ผู้อาจจะเสด็จมาประทับที่วัง ห้องทางด้านตะวันออกหรือด้านซ้ายของผังทั้งสองด้าน (O) เป็นห้องของดยุคและดัชเชส

ห้องต่างๆ ทั้งห้องพักเอกและห้องรองภายในวังเบล็นไฮม์อยู่ในระดับเดียวกันหมด ฉะนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสร้างบันใดเอก (Grand Staircase) บันใดใหญ่ของวังเบล็นไฮม์อยู่ภายในลานเอกที่นำไปสู่ทางเข้าทางด้านเหนือ ภายในตัววังมีบันใดบ้างแต่ไม่มีบันใดที่ออกแบบอย่างหรูหราเช่นบันไดภายในวังใหญ่ๆ ในวังสมัยนั้น บนเพดานของทางเข้าทางด้านเหนือเป็นภาพเขียนโดยเจมส์ ธอร์นฮิลล์ ที่เป็นภาพของดยุคแห่งมาร์ลเบรอคุกเข่าต่อหน้าบริทานเนียขณะที่ยื่นแผนที่ที่แสดงยุทธการเบล็นไฮม์ โถงสูงถึง 67 ฟุตแต่ก็เป็นเพียงโถงที่นำไปสู่ห้องรับรองกลาง

เดิมเจมส์ ธอร์นฮิลล์จะเป็นผู้เขียนภาพภายในห้องรับรองกลางแต่ดัชเชสมีความเคลือบแคลงว่าธอร์นฮิลล์จะเรียกร้องค่าจ้างที่แพงเกินไป เธอจึงหันไปจ้างหลุยส์ ลาเกร์ (Louis Laguerre) แทน โดมในห้องนี้เป็นห้องที่มีภาพเขียนแบบ ภาพลวงตา (trompe l'œil) หรือ ภาพเขียนแบบสามมิติซึ่งเป็นลักษณะการเขียนภาพที่นิยมกันในยุคนั้น เนื้อหาของภาพเป็นการลงนามในสนธิสัญญาอูเทร็ชท์ (Peace Treaty of Utrecht) เพดานโดมเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพโดยมีจอห์น เชอร์ชิลบนรถม้าในมือถือสายฟ้าแห่งสงคราม และสตรีผู้รั้งแขนของดยุคเป็นสัญลักษณ์ของความสงบ บนผนังเป็นภาพของชาติต่างๆ ในโลกที่อยู่ด้วยกันด้วยความสงบ ลาเกร์วาดภาพเหมือนตนเองเคียงข้างกับดีนโจนส์ ผู้เป็นนักบวชประจำตัวของดยุคและเป็นศตรูคนสำคัญของดัชเชสแต่ดัชเชสก็ยอมทนเพราะดีนโจนส์เล่นไพ่เก่ง จากด้านขวาของประตูเป็นห้องหลักห้องแรก ลาเกร์เขียนภาพสายลับฝรั่งเศสผู้มีหูใหญ่และตาโตเพราะยังอาจจะเป็นสายลับอยู่ ด้านหลังเป็นภาพลางๆ ของเอิร์ลแห่งไซลด์ที่ 5 เพราะจิตรกรพยายามซ่อนความบาดเจ็บที่เอิร์ลได้รับจากยุทธการรามิลีส์ (Battle of Ramillies) บนกรอบประตูสี่ประตูที่ทำด้วยหินอ่อนเป็นตราประจำตัวของดยุคแสดงความเป็นผู้นำแห่งอาณาจักรโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ แต่เพียงชิ้นเดียวเท่านั้นที่แกะโดยกิบบอนส์ อีกสามชิ้นแกะเลียนแบบโดยช่างที่ได้ค่าแรงต่ำกว่ากิบบอนส์

ห้องที่น่าสนใจห้องที่สามคือห้องสมุด (H) ที่ยาวถึง 180 ฟุตออกแบบเพื่อแขวนภาพเขียน เพดานเป็นแบบโดมบาน (saucer dome) โดยจะให้เจมส์ ธอร์นฮิลล์เป็นผู้เขียนภาพถ้าดัชเชสไม่มาผิดใจกับธอร์นฮิลล์เสียก่อน ห้องนี้เป็นที่ตั้งแสดงของสิ่งที่มีค่าที่ดยุคได้รับเป็นของขวัญหรือไปได้มาจากสงคราม และรวมถึงศิลปะที่สะสม นอกจากนั้นห้องนี้ยังเป็นที่ตั้งของรูปสลักใหญ่ของสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์แห่งบริเตนใหญ่ที่บนฐานเป็นคำจารึกบรรยายถึงมิตรภาพระหว่างดัชเชสและสมเด็จพระราชินีนาถแอนน์

จากด้านเหนือของห้องสมุดเป็นที่ตั้งของออร์แกนที่สร้างโดยเฮนรี วิลลิส ช่างสร้างออร์แกนที่สำคัญที่สุดในอังกฤษในสมัยนั้น ซึ่งผู้เล่นเข้าไปเล่นได้โดยเดินเข้าไปทางที่ยกพื้นไปยังชาเปล H2 ชาเปลตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกของตัววังตรงกันข้ามกับครัวที่ตั้งอยู่ทางด้านตะวันตก การวางผังอย่างสมดุลกันเช่นนี้เป็นการเน้นถึงดุลยภาพทางใจและทางกายตามอารมณ์ขันของแวนบรูห์หรือไม่ก็ตัวดัชเชสเอง ระยะทางระหว่างครัวไปยังห้องกินข้าว (O) ค่อนข้างไกลและอาจจะเป็นเพราะความร้อนของอาหารสำคัญน้อยกว่าการที่จะต้องสูดกลิ่นครัวหรือการที่ต้องอยู่ใกล้เคืยงกับผู้รับใช้

อุทยานและสวน

ตัววังเบล็นไฮม์ตั้งอยู่กลางอุทยาน สิ่งแรกที่แวนบรูห์เห็นภาพเมื่อเริ่มวางแผนวังเมื่อปี ค.ศ. 1704 ก็คือการออกแบบวังอันยิ่งใหญ่ โดยมีอุทยานใหญ่และมีลำธารเล็กใหลเลื้อยอยู่ท่ามกลางโดยมีสะพานที่สวยที่สุดในยุโรปข้าม ซึ่งขัดกับความคิดของคริสโตเฟอร์ เร็นที่ว่าควรจะแบ่งสายน้ำให้เป็นสามสายโดยมีสะพานเด่นใหญ่อยู่ตรงกลางที่ใหญ่พอที่จะจุห้องได้สามสิบห้อง สะพานนี้ใหญ่โตจนอเล็กซานเดอร์ โปปค่อนว่า

"รู้สึกในบุญคุณของดัชเชส ปลาน้อยๆ เมื่อว่ายผ่านภายใต้สะพานโค้งใหญ่คงกระซิบกันว่าสะพานนี้คงใหญ่เช่นวาฬ "

แผนอุทยานอีกแผนหนึ่งของแวนบรูห์ก็คือการสร้างสวนแบบพาร์เทร์ (Parterre) ที่ยาวเกือบครึ่งไมล์และกว้างเท่ากับด้านใต้ นอกจากนั้นภายในอุทยานยังเป็นที่ตั้งของเสาแห่งชัยชนะของดยุคแห่งมาร์ลเบรอที่มาสร้างภายหลังจากที่ท่านถึงแก่อสัญญกรรมไปแล้ว เสาที่ว่านี้สูง 134 ฟุตตั้งอยู่ตอนปลายถนนต้นเอ็ลมที่นำไปสู่ตัววัง แวนบรูห์ตั้งใจจะสร้างเสาโอบิลิสค์ (Obelisk) ให้เป็นที่หมายของวังเดิมที่เป็นของสมเด็จพระเจ้าเฮนรีที่ 2 ซึ่งทำให้ดัชเชสกล่าวค่อนว่าถ้าขืนสร้างเสาโอบิลิสค์

แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
Jeffrey James
12 october 2014
Really beautiful grounds! Dog friendly outside of the palace. The palace interior was beautiful, but only one floor to walk in. The Ai weiwei exhibition was random & out of place in its surroundings.
Steve A
26 august 2014
If you are traveling to Oxford or the Cotswolds you owe it to yourself to visit Blenheim Palace. The home of the Duke of Marlboro is one of the grandest homes in England not belonging to the Queen.
Gordon Payne
17 september 2016
Come in through the Woodstock gate for a breathtaking and unique view of the house and grounds - £25 seems a lot but it's great value
Filmsquare
23 august 2013
The lakes of Blenheim Palace were used for a brief scene in Harry Potter and the Order of the Phoenix (2007) in which Harry looks into Prof. Snape's memories and sees him being bullied by James Potter
Kirsty Allen
3 march 2016
Don't miss the cafe, the cakes are delicious. Especially the carrot cake. They also do soy milk and gluten free cakes.
JNET
10 april 2015
Stunning estate and grounds. Don't just enjoy the palace. Venture out to the fountains and walk about to the various gardens.
8.9/10
Ekaterina K และ 470,149 ผู้คนมากขึ้นได้รับที่นี่

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
The Feathers

ตั้งแต่วันที่ $155

The Blenheim Buttery

ตั้งแต่วันที่ $129

Macdonald Bear Hotel

ตั้งแต่วันที่ $174

Marlborough Arms Hotel

ตั้งแต่วันที่ $156

The Punchbowl Inn

ตั้งแต่วันที่ $143

Churchill Court Hotel

ตั้งแต่วันที่ $104

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
A34 Road Bridge

The A34 Road Bridge is a modern road bridge carrying the Oxford ring

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Medley Footbridge

Medley Footbridge is a pedestrian bridge across the River Thames near

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
University Parks

The Oxford University Parks, commonly referred to locally as the

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Osney Bridge

Osney Bridge is a road bridge across the River Thames in Oxford,

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Pitt Rivers Museum

The Pitt Rivers Museum is a museum displaying the archaeological and

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Ashmolean Museum

The Ashmolean Museum (in full the Ashmolean Museum of Art and

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Oxford Castle

Oxford Castle, located in Oxford city centre, was built by a Norman

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Bodleian Library

The Bodleian Library (Шаблон:IPA-en), the main research library of th

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Harewood House

Harewood House (pronounced , as if written Harwood) is a country house

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Tsarskoye Selo

Tsarskoye Selo (Russian: Ца́рское Село́; 'Tsar's Village') is

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Eggenberg Palace, Graz

Schloss Eggenberg (Eggenberg Palace) in Graz is the most significant

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Generalife

The Palacio de Generalife (Arabic: Jannat al-Arif‎ - Architects G

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Grimsthorpe Castle

Grimsthorpe Castle is a country house in Lincolnshire, England four

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด