สะพานพระราม 9

สะพานพระราม 9 (อังกฤษ: Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไป ในนาม สะพานแขวน เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย

สะพานพระราม 9 (อังกฤษ: Rama IX Bridge) หรือที่รู้จักกันทั่วไป ในนาม สะพานแขวน เป็นสะพานเสาขึงระนาบเดี่ยวแห่งแรกของประเทศไทย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานชื่อ สะพานพระราม 9 เพื่อเป็นสิริมงคล เนื่องในวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา ครบ 60 พรรษา

สะพานพระราม 9 เป็นส่วนหนึ่งของทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ช่วงที่ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา มีลักษณะเป็นสะพานชนิด Single Plane Fan Type Cable-Stayed Bridge หรือสะพานขึงโดยใช้สายเคเบิลขนาดใหญ่ขึงเป็นระนาบเดี่ยวไว้กับเสาสูงของสะพานเพื่อรับ น้ำหนักของสะพาน เริ่มดำเนินการก่อสร้าง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527 เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530 โดยมีกิจกรรมวิ่งมาราธอน ลอยฟ้าในเวลา 06.00 น. ในวันที่ทำพิธีการเปิด

ลักษณะของตัวสะพาน

เนื่องจากสายทางด่วนเฉลิมมหานคร สายดาวคะนอง-ท่าเรือ ส่วนหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บริเวณวัดไทร ซึ่งเป็นบริเวณที่แม่น้ำมีขนาดค่อนข้างกว้าง (ประมาณ 500 เมตร) และสองฝั่งแม่น้ำจะมีโกดังเก็บสินค้า ช่วงกลางแม่น้ำจะเป็นทุ่นจอดเรือเดินทะเลขนาดใหญ่รับ-ส่ง สินค้า ซึ่งกรมเจ้าท่าได้กำหนดว่าถ้าจะสร้าง สะพานข้ามแม่น้ำบริเวณดังกล่าวจะต้องมีตอม่ออยู่ในแม่น้ำลึกไม่เกิน 2.00 เมตร วัดจากระดับน้ำต่ำสุด (-1.73 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง "รทก") และ ท้องสะพานจะต้องสูงกว่าระดับสูงสุด (+2.17 "รทก") ไม่ต่ำกว่า 41.00 เมตร บริษัท Peter Fraenkel International Ing. Dr. Ing. Hellmut Homberg ซึ่งเป็นบริษัทวิศวกรที่ปรึกษา และบริษัทออกแบบ ได้ออกแบบสะพานโดยมีตัวสะพานยาว 782 เมตร มีช่วงกลาง (Main Span) ยาว 450 เมตร ตัวสะพานมีความกว้าง 31-33 เมตร มีสายเคเบิลขึงเป็นแบบระนาบเดี่ยว (Single Plane) จำนวนฝั่งละ 17 คู่ มีเสาตอม่อฝั่งละ 4 ต้น แต่ละต้นจะสูง 35-40 เมตร เสาขึงเคเบิล (Pylon) ตั้งอยู่บนตอม่อริมน้ำสูง 87 เมตร ความลาดของสะพาน (Gradient) สูงสุด 5 เปอร์เซ็นต์ และเอียงออกด้านข้าง (Grossfall) 2.5 เปอร์เซ็นต์ ท้องสะพานสูงจากระดับน้ำสูงสุด 41 เมตร ทั้งสองข้างของตัวสะพานจะมีเชิงลาด (Bridge Approaches) ยาว 650 เมตร สำหรับฝั่งกรุงเทพฯ และ 630 เมตร สำหรับฝั่งธนบุรี การออกแบบเชิงลาดของสะพานเป็นรูป Double T เป็นคอนกรีตอัดแรงมีความยาวช่วงละ 50 เมตร กว้าง 15 เมตร 2 เส้นทางคู่กัน

โครงสร้างของสะพาน

โครงสร้างของสะพานแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

โครงสร้างตัวสะพาน

โครงสร้างตัวสะพาน (Superstructure) ประกอบด้วย ตัวสะพาน เสาขึง สายเคเบิล เป็นเหล็กทั้งสิ้น มีรายละเอียดดังนี้

  • ตัวสะพาน (Bridge Deck) ประกอบด้วย เหล็กแบบ Box Girder มีคานขวาง (Cross Girder) ทุก ๆ ระยะ 3.60 เมตร ตัวสะพานแบ่งตามความยาวของสะพานออกเป็น 2 ส่วนคือ ตัวสะพานซึ่งอยู่ระหว่างเสาขึงทั้งสองข้างมีความยาว 450 เมตร เรียกว่า Main Span เฉพาะช่วงของ Main Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมคางหมูกว้าง 33 เมตร ช่วงของ Back Span มีรูปตัดเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ในส่วนที่บรรจบกับ Main Span มีความกว้าง 33 เมตร และลดลงเป็น 31 เมตร เพื่อต่อกับเชิงลาดของสะพานภายในสะพานมีช่องทางเดินตลอดสะพาน แบ่งเป็น 3 ช่อง มีความสูง 4.00 เมตรเพื่อความสะดวกในการเดินสำรวจสภาพและซ่อมบำรุงภายในสะพาน
  • เสาขึง (Pylon) มี 2 ต้น เป็นเสาเหล็กรูปหน้าตัดสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 3.00 x 4.50 เมตร ที่โคนเสาบนพื้นสะพาน และลดลงเป็น 2.50 x 3.00 เมตร ที่ยอดเสาสูง 87 เมตร เสาขึงนี้จะทำหน้าที่ยึดและรับแรงดึงจากสายเคเบิลแล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่เสาตอม่อ (Pylon Pier) ภายในจะมีบันไดและลิฟท์เพื่อใช้ตรวจสอบและซ่อมบำรุง
  • สายเคเบิล (Cable) ประกอบด้วย เส้นลวด (Wire) ขนาดเล็กจำนวนมากขบกัน ในลักษณะบิดเป็นเกลียวรอบจุดศูนย์กลาง เรียกว่า Locked Coil Cable มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 121 - 167 มิลลิเมตร ความยาว 50-223 เมตร รวมจำนวน 4 ชุด ชุดละ 17 เส้นรวมทั้งหมด 68 เส้น สามารถรับแรงดึงได้ตั้งแต่ 1,500 - 3,000 ตัน

โครงสร้างฐานรากสะพาน

โครงสร้างฐานรากสะพาน (Substructure) ประกอบด้วย เสาตอม่อ แท่นหัวเข็ม เสาเข็ม ซึ่งล้วนแต่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก มีรายละเอียด ดังนี้

  • เสาตอม่อ (Pier) เป็นโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 8 ต้น ที่ฝั่งกรุงเทพฯ 4 ต้น ฝั่งธนบุรี 4 ต้น ตัวริมเรียกว่า Junction Pier (Po และ P7) เป็นเสาคู่ ถัดเข้ามาอีก 2 ตัว เรียกว่า Back Span Pier (P1, P2, P5 และ P6) เป็นเสาตันคอนกรีตเสริมเหล็กขนาด 3.2 x 18.0 เมตร สำหรับตอม่อริมน้ำ (P3 และ P4) มีขนาด 11.0 x 18.0 เมตร เป็นเสากลวงคอนกรีต เสริมเหล็กโดยมีผนังหนา 1.00 เมตรโดยรอบ
  • เสาเข็ม (Bore Pile) เป็นเสาเข็มเจาะคอนกรีตเสริมเหล็กขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.00 เมตร ลึกประมาณ –30 เมตร รทก ถึง –35 เมตร รทก จำนวนเสาเข็มสำหรับฐานรากริม, ฐานรากกลาง จำนวน 2 ฐาน และฐานรากเสาสูง 8, 8, 10 และ 64 ต้นตามลำดับ
  • แท่นปิดหัวเสาเข็ม (Pile Cap) เป็นแท่นคอนกรีตเสริมเหล็กเพื่อรองรับเสาสะพานสำหรับฐานรากริม ฐานรากกลาง 2 ฐาน และฐานรากเสาสูงโดยมีขนาด 10 x 25 x 2.50 เมตร ขนาด 11 x 20 x 4.00 เมตรและขนาด 32 x 37 x 6.00 เมตร ตามลำดับ เฉพาะแท่นปิดหัวเสาเข็มของ ฐานรากเสาสูงจะมีขนาดใหญ่ที่สุดต้องใช้ปริมาณคอนกรีตถึง 7,000 ลูกบาศก์เมตร โดยเทต่อเนื่อง

ข้อมูลทั่วไป

  • วันที่ทำการก่อสร้าง : วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2527
  • วันเปิดการจราจร : วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2530
  • บริษัทที่ทำการก่อสร้าง : บริษัท ฮิตาชิ โซนโซน คอร์ปอเรชั่น โตเกียว คอนสตรัคชั่น จำกัด และ บริษัท โกบี สตีล จำกัด
  • ราคาค่าก่อสร้าง : 1,418,100,000 บาท
  • แบบของสะพาน : ชนิดเสาขึงระนาบเดี่ยว
  • ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง : 41.00 เมตร
  • ความยาวของสะพาน : 782.00 เมตร
  • เชิงลาดสะพาน ฝั่งพระนคร : 1,127.00 เมตร 2
  • เชิงลาดสะพาน ฝั่งธนบุรี : 807.00 เมตร
  • รวมความยาวทั้งหมด : 2,716 เมตร
  • จำนวนช่องทางจราจร : 6 ช่องทางจราจร
  • ความกว้างสะพาน : 33.00 เมตร

แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์:

ดูเพิ่ม

  • ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
อยู่ในหมวดต่อไปนี้:
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
11 september 2020
apakah tempat ini ramai saat malam hari
Steve O Techadilok
13 february 2011
If you stuck on traffic ,just watch the view from here.. it's still beautiful:)
Rackmanager
21 june 2010
You don't have to run along with the arrow marked on the floor. You can run on other way to avoid the bad smell from the near by factory.
FEEMONG CH
22 june 2012
Everyday pass cars&trucks too crowd
愛神
6 august 2011
Nice view when almost evening
KRITTHAI SK
24 october 2011
Always struck
KRITTHAI SK
24 october 2011
Strucking there
9.1/10
Patarapol Thonglert และ 111,048 ผู้คนมากขึ้นได้รับที่นี่
แผนที่
ทางพิเศษเฉลิมมหานคร แขวง บางโพงพาง เขต ยานนาวา กรุงเทพมหานคร 10120 ประเทศไทย ขอเส้นทาง
Thu 6:00 AM–10:00 AM
Fri 6:00 AM–1:00 PM
Sat 7:00 AM–8:00 PM
Sun 9:00 AM–10:00 PM
Mon-Tue 6:00 AM–10:00 AM

Rama IX Bridge ในFoursquare

สะพานพระราม 9 ในFacebook

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Oh Compound Hostel

ตั้งแต่วันที่ $4

The Printing House Poshtel Bangkok

ตั้งแต่วันที่ $15

Sri Krungthep Hotel

ตั้งแต่วันที่ $15

Baan Dinso

ตั้งแต่วันที่ $34

U-Night Hostel

ตั้งแต่วันที่ $15

Rachanatda Hostel

ตั้งแต่วันที่ $14

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
สะพานภูมิพล

The Bhumibol Bridge (Thai: สะพานภูมิพล), also known as the Industri

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
สะพานพระราม 3

The Rama III Bridge (Thai: สะพานพระราม 3), also known as the New Krun

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
สะพานกรุงเทพ

สะพานกรุงเทพ (อังกฤษ: Krung Thep Bridge) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระย

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน

สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน (King Taksin Bridge) หรือที่รู้จักในนาม สะพานสา

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
อาสนวิหารอัสสัมชัญ

อาสนวิหารอัสสัมชัญ หรือ โบสถ์อัสสัมชัญ เป็นโบสถ์เก่าแก่อายุกว่า 20

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระศรีมหาอุมาเทวี

วัดพระศรีมหาอุมาเทวี หรือ วัดแขกสีลม เป็นโบสถ์พราหมณ์ ตั้งอย

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ถนนพัฒน์พงศ์

Patpong (Thai: พัฒน์พงษ์, 'Phatphong') is an entertainment dis

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Queen Saovabha Memorial Institute

Queen Saovabha Memorial Institute (QSMI) (Thai:

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Galata Bridge

The Galata Bridge (in Turkish Galata Köprüsü) is a bridge that sp

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
碓氷第三橋梁 (めがね橋)

碓氷第三橋梁 (めがね橋) เป็นสถานที่ท่องเที่

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Suramadu Bridge

The Suramadu Bridge (Indonesian: Jembatan Suramadu), also known as the

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Dom Luís I Bridge

The Dom Luís I (or Luiz I) Bridge (português. Ponte Luís I or Luiz I)

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ทาวเวอร์บริดจ์

ทาวเวอร์บริดจ์ (อังกฤษ: Tower Bridge) คือ สะพานที่มีรูปแบบของสะพานยกแ

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด