มหาวิหารตูร์แน

มหาวิหารตูร์แน หรือมีชื่อเต็มว่า อาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน (ฝรั่งเศส: Cathédrale Notre-Dame de Tournai; ดัตช์: Onze-Lieve-Vrouw van Doornik) เป็นอาสนวิหารโรมันคาทอลิก ซึ่งเป็นที่ตั้งของมุขนายกประจำมุขมณฑลตูร์แน (Diocese of Tournai) ตั้งอยู่ที่เมืองตูร์แน มณฑลแอโน เขตวัลลูน ในประเทศเบลเยียม โดยสร้างขึ้นเพื่ออุทิศให้แก่พระนางมารีย์พรหมจารี

มหาวิหารแห่งนี้ถือเป็นมหาวิหารแห่งเดียวในประเทศเบลเยียมซึ่งตั้งใจสร้างเพื่อมีฐานะเป็นอาสนวิหาร (อังกฤษ: Cathedral) ซึ่งจัดเป็นผลงานชิ้นเอกของสถาปัตยกรรมกอทิกแบบตูร์แน (Gothique tournaisien) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างโรมาเนสก์กับกอทิกที่พบได้มากในภูมิภาคแถบนี้ มหาวิหารตูร์แนได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอนุสรณ์สถานสำคัญของภูมิภาควัลลูน (ฝรั่งเศส: Patrimoine immobilier classé de la Région wallonne) เมื่อปี ค.ศ. 1936 และต่อมาได้รับขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก เมื่อปีค.ศ. 2000

อาสนวิหารแม่พระแห่งตูร์แน *
มรดกโลกโดยยูเนสโก
มหาวิหารบริเวณแขนกางเขน
ประเทศ ตูร์แน  เบลเยียม
ประเภท มรดกทางวัฒนธรรม
เกณฑ์พิจารณา i, iv
อ้างอิง 1009
ประวัติการจดทะเบียน
จดทะเบียน 2544 (คณะกรรมการสมัยที่ 25)
ที่ตั้งของมหาวิหารตูร์แน ในประเทศ Belgium

ประวัติ

ในบริเวณสถานที่ตั้งของมหาวิหารนั้นเคยเป็นที่ตั้งของมหาวิหารในอดีตถึง 3 หลัง โดยหลังแรกนั้นสร้างขึ้นในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งมีหลักฐานพบถึงการก่อสร้างในฐานะโบสถ์เพื่ออุทิศให้แก่นักบุญอะเลอแตร์แห่งตูร์แน หนึ่งในมุขนายกแห่งตูร์แนในช่วงแรกของประวัติศาสตร์

ในปีค.ศ.​ 532 นักบุญเมดาร์ มุขนายกลำดับที่ 14 แห่งนัวยง ผู้ซึ่งก่อนหน้านี้ในปีค.ศ. 531 นั้นได้ให้ย้ายที่ตั้งของมุขมณฑลแห่งแซ็ง-ก็องแตง ไปอยู่เมืองนัวยงแทน ได้รับเลือกเป็นมุขนายกแห่งตูร์แนควบด้วยอีกตำแหน่งหนึ่ง ซึ่งทำให้สองมุขมณฑลนี้ปกครองร่วมกัน โดยเรียกเป็น มุขมณฑลนัวยง-ตูร์แน จนกระทั่งปีค.ศ. 1146 เมื่อสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 มีรับสั่งให้แยกเป็นคนละมุขมณฑล

ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 - 11 นั้นได้มีการก่อสร้างมหาวิหารขึ้นเป็นหลังที่สอง โดยตามประวัติทราบว่ามีการเกิดอัคคีภัยครั้งใหญ่ๆจำนวนสองครั้ง (ในปีค.ศ. 881 และ ค.ศ. 1066) ซึ่งในแต่ละครั้งก็มีการบูรณะซ่อมแซมให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิม ต่อมาในปีค.ศ. 1092 ได้มีการก่อตั้งแอบบีย์นักบุญมาร์ตินแห่งตูร์แน (ฝรั่งเศส: abbaye Saint-Martin de Tournai) อีกทั้งยังเป็นปีที่สิ้นสุดลงของโรคระบาดครั้งร้ายแรงใหญ่ ซึ่งเรียกกันว่า "Grand Peste" โดยได้มีประเพณีสำคัญเพื่อรำลึกถึงสถานการณ์นั้นโดยได้กลายมาเป็นประเพณีใหญ่ของชาวตูร์แน เรียกว่า "กร็อง โปรเซสซิยง" (ฝรั่งเศส: Grande Procession) ซึ่งยังมีอยู่ในปัจจุบันทุกๆวันอาทิตย์ที่สองในเดือนกันยายนของแต่ละปี

ต่อมาช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 12 ได้เริ่มมีการก่อตั้งลัทธิบูชาพระแม่ขึ้นในตูร์แน อีกทั้งความมั่งคั่งของเมืองรวมทั้งความต้องการที่จะแยกมุขมณฑลออกจากนัวยง จึงได้มีการผลักดันให้สร้างมหาวิหารหลังปัจจุบันขึ้นที่ตูร์แน ซึ่งถือเป็นวิหารหลังที่สามที่สร้างบริเวณที่แห่งนี้ การก่อสร้างเริ่มจากทิศตะวันตกไปยังทิศตะวันออก เริ่มที่บริเวณกลางโบสถ์ ไปยังบริเวณร้องเพลงสวด โดยบริเวณหลังคานั้นเริ่มขึ้นโครงสร้างในช่วงปีค.ศ. 1142 - 1150

ในปีค.ศ.​ 1146 มุขมณฑลตูร์แนก็ได้แยกออกจากมุขมณฑลนัวยงอย่างสิ้นเชิงโดยพระบัญชาของสมเด็จพระสันตะปาปายูจีนที่ 3 อาสนวิหารแห่งใหม่นี้จึงได้รับการเสกขึ้นเป็นอาสนวิหารเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1171 ซึ่งยังถือเป็นวันสำคัญของมหาวิหารแห่งนี้จนถึงปัจจุบัน

ต่อมาในปีค.ศ. 1243 มุขนายกวอลแตร์ เดอ มาร์วี ได้เริ่มโครงการปรับปรุงส่วนบริเวณร้องเพลงสวดให้เป็นแบบกอทิกแรยอน็อง (ตามสมัยนิยม) โดยเริ่มจากการรื้อถอนส่วนบริเวณร้องเพลงสวดซึ่งเป็นแบบเดิม (โรมาเนสก์) โดยได้เสร็จสิ้นลงในปีค.ศ. 1255 โดยการปรับปรุงครั้งนี้ได้มีแรงบันดาลใจมากจากมหาวิหารอาเมียง และซัวซงเป็นอย่างมาก ด้วยการออกแบบในขนาดที่สูงโปร่ง กับลวดลายอันอ่อนช้อย โดยบริเวณที่สร้างใหม่นี้มีขนาดความยาวพอๆกับจุดตัดกลางโบสถ์รวมกันกับบริเวณกลางโบสถ์แบบโรมาเนสก์เดิม

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 ได้มีการเริ่มบูรณะส่วนของหลังคาโค้งบริเวณแขนกางเขนภายใต้การปกครองของมุขนายกเอเตียน โดยในช่วงนี้ได้มีการก่อสร้างหอคอยกลางและหอระฆังทั้งสี่

ต่อมาในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้มีการเริ่มบูรณะส่วนของหน้าบันหลักของวิหารฝั่งทิศตะวันตก โดยบูรณะเพียงส่วนมุขทางเข้าเป็นแบบสถาปัตยกรรมกอทิกเช่นกัน

เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม ค.ศ. 1566 ได้มีการบุกรุกอาสนวิหารโดยผู้คลั่งลัทธิทำลายรูปเคารพ ซึ่งได้ทำลายงานตกแต่งภายในตั้งแต่สมัยยุคกลางไปเกือบหมดสิ้น ต่อมาการปฏิวัติฝรั่งเศสก็ได้มีการทำลาย ขโมยเครื่องเรือนและเครื่องตกแต่งภายใน รวมถึง แท่นบูชา หินอ่อน ระฆัง ฉากกางเขน แท่นเทศน์ ฯลฯ ซึ่งต่อมาในภายหลังจากความตกลง ค.ศ. 1801 แล้วจึงได้มีการฟื้นฟูอาสนวิหารขึ้นใหม่ทีละเล็กละน้อย โดยความช่วยเหลือของมุขนายกแห่งตูร์แนทั้งสององค์ในสมัยนั้น คือ มุขนายกฟร็องซัว-โฌแซฟ อีร์น ซึ่งเป็นผู้รวบรวมงานศิลปะที่สวยงามจากวิหารอื่นๆที่ถูกยุบลง โดยเฉพาะส่วนของพื้นหินอ่อนบริเวณร้องเพลงสวด และแท่นบูชาได้นำมาจากโบสถ์ของแอบบีย์นักบุญมาร์ตินแห่งตูร์แนซึ่งโดนยุบลง และอีกองค์หนึ่งคือ มุขนายกกาสปาร์-โฌแซฟ ลาบี ซึ่งเป็นผู้ริเริ่มการบูรณะครั้งใหญ่ที่กินเวลายาวนานถึงกว่าสี่สิบปี

ในสงครามโลกครั้งที่สอง ตูร์แนเป็นสถานที่ที่ถูกถล่มโดยกองทัพเยอรมันเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.​ 1940 โดยได้ทำลายเมืองไปมาก รวมทั้งชาเปลแม่พระในสถาปัตยกรรมกอทิกยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเคยตั้งอยู่บริเวณติดกับทางเดินข้างฝั่งทิศเหนือของบริเวณกลางโบสถ์ ซึ่งชาเปลหลังนี้ถูกทำลายหมดสิ้น และมิได้มีการสร้างใหม่ในภายหลัง

เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ.​ 1999 ได้มีพายุทอร์นาโดเข้าผ่านบริเวณอาสนวิหาร โดยหลังจากได้มีการคำนวณและวัดความสมดุลของตัวอาคารและหอระฆังทั้งห้าแล้ว ได้มีความกังวลเกิดขึ้นในความแข็งแรงของบริเวณโครงสร้างมหาวิหาร โดยทางเทศบาลแห่งตูร์แน มณฑลแอโน รวมทั้งมุขมณฑลตูร์แน ได้เริ่มทำโครงการบูรณะครั้งใหญ่เพื่อเป็นชุบชีวิตของอาสนวิหารแห่งนี้ขึ้นอีกครั้ง

ขนาด

  • ความยาวโดยรวม : 134 เมตร (เท่ากันกับมหาวิหารซอลส์บรี, ส่วนมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสมีความยาวเพียง 127 เมตร)
  • ความยาวของบริเวณร้องเพลงสวด (รวมจรมุข และชาเปลข้าง) : 58 เมตร (มากกว่ามหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสซึ่งมีความยาว 38 เมตร และน้อยกว่ามหาวิหารอาเมียงซึ่งมีความยาว 64 เมตร)
  • ความยาวของบริเวณร้องเพลงสวด (ไม่รวมจรมุข และชาเปลข้าง) : 45 เมตร (มากกว่ามหาวิหารอาเมียง ที่มีความยาวเพียง 42 เมตร)
  • ความยาวของแขนกางเขน : 67 เมตร (เทียบกับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสซึ่งยาวเพียง 48 เมตร)
  • ความกว้างของแขนกางเขน : 14 เมตร (เท่ากันกับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีส)
  • ความยางของบริเวณกลางโบสถ์ : 48 เมตร
  • ความกว้างของบริเวณกลางโบสถ์ (ไม่รวมทางเดินข้าง) : 11 เมตร
  • ความกว้างของบริเวณกลางโบสถ์และทางเดินข้าง : 20 เมตร
  • ความกว้างของบริเวณร้องเพลงสวด (ไม่รวมจรมุข) : 12.6 เมตร (contre 14,6 à Amiens)
  • ความสูงของหอระฆัง : 83 mètres (เทียบกับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสซึ่งสูงเพียง 69 เมตร)
  • ความสูงจรดเพดานบริเวณแขนกางเขน : 50 เมตร (ส่วนที่สูงที่สุดภายในมหาวิหาร)
  • ความสูงของบริเวณกลางโบสถ์แบบโรมาเนสก์ : 26 เมตร
  • ความสูงของบริเวณร้องเพลงสวดแบบกอทิก : 36 เมตร (เทียบกับมหาวิหารน็อทร์-ดามแห่งปารีสซึ่งสูงเพียง 33.50 เมตร, มหาวิหารอาเมียงที่ 42.30 เมตร และมหาวิหารโบแวที่ 48.50 เมตร)

บรรณานุกรม

  • Jean Dumoulin et Jacques Pycke La Cathédrale de Tournai, Éditions Casterman, Tournai, ISBN| 2-203-28761-6, 1985.
  • Claude Alsteen Un amour de cathédrale, PAC Hainaut Occidental, Tournai, 1990.
  • Jean Housen, "Tournai - cathédrale Notre-Dame", dans Bulletin de la Commission royale des monuments, sites et fouilles, tome 18, 2004-2005, pp. 55-57.

ดูเพิ่ม

อยู่ในหมวดต่อไปนี้:
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
Petra De Wilde
11 april 2015
Must see, this is an amazing treasure of architecture, so huge and high.
4sq SUs Belgium
5 may 2016
Built in the first half of the 12th century, this 134m long UNESCO World Heritage Site is one of Belgium's biggest churches. Its 5 towers, with a height of 83m, dominate the skyline of Tournai.
Petra De Wilde
11 april 2015
The entire site and the historiogram (timeline) on the wall.
Dominique Gondry
19 january 2014
Must see. Beautiful treasure.
Charles Nadeau
21 december 2018
Tres belle cathédrale mais actuellement en grandes rénovations. A éviter jusqu’à la fin des rénovations.
แผนที่
Onze-Lieve-Vrouwekathedraal, Place de l'Evêché 1, 7500 Tournai, เบลเยียม ขอเส้นทาง
Sat 10:00 AM–6:00 PM
Sun 10:00 AM–7:00 PM
Mon 10:00 AM–5:00 PM
Tue 9:00 AM–3:00 PM
Wed 9:00 AM–6:00 PM
Thu 7:00 AM–8:00 AM

Cathedral of Our Lady ในFoursquare

มหาวิหารตูร์แน ในFacebook

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Hotel Cathedrale

ตั้งแต่วันที่ $92

Campanile Lille Est Hem Hotel

ตั้งแต่วันที่ $103

Olivarius Apart Hotel Lille Villeneuve D'Ascq

ตั้งแต่วันที่ $127

Campanile Lille Est Villeneuve d'Ascq

ตั้งแต่วันที่ $114

Inter-Hotel Lille Est Grand Stade Ascotel

ตั้งแต่วันที่ $142

ibis Lille Roubaix Centre

ตั้งแต่วันที่ $95

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Belfry of Tournai

The belfry (French: beffroi) of Tournai, Belgium, is a freestanding

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Castle of Antoing

The Castle of Antoing is one of Belgium's most original and well-known

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Castle of la Royère

Castle of la Royère is a castle in Belgium.

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Castle of Anvaing

Anvaing Castle (Château d'Anvaing) is a castle in the village of

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Château du Sart

The Château du Sart is a château in the Sart-Babylone quarter of V

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
La Berlière Castle

La Berlière Castle (French: Château de la Berlière) is a castle in Ho

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Castle of Berlière

Castle of Berlière is a castle in Wallonia, Belgium.

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Column of the Goddess

The Column of the Goddess is the popular name given by the citizens of

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
სიუდად-კოლონიალი (სანტო-დომინგო)

სიუდად-კოლონიალი (español. Ciudad Colonial) – ქრისტეფორე კოლუმბი

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Málaga Cathedral

The Cathedral of Málaga is a Renaissance church in the city of

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Ávila Cathedral

The Cathedral of Ávila is a Romanesque and Gothic church in Ávila in t

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Como Cathedral

Como Cathedral (italiano. Cattedrale di Santa Maria Assunta; Duomo di

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
San Salvador Cathedral

The Metropolitan Cathedral of the Holy Savior (Catedral Metropolitana

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด