พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง (อังกฤษ: Grand Palace) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร

ปัจจุบัน พระบรมมหาราชวังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ที่ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับที่ 16 ของโลก โดยมีผู้เข้าเยี่ยมชมในปี พ.ศ. 2549 เป็นจำนวนถึง 8,995,000 คน

ประวัติการก่อสร้าง

พระบรมมหาราชวังเป็นพระราชวังหลวง ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อทรงย้ายราชธานีจากกรุงธนบุรี มายังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา การก่อสร้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศ และเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ เริ่มขึ้นพร้อมกับการสร้างพระนครเมื่อ พ.ศ. 2325 การก่อสร้างพระราชวังหลวง สร้างในบริเวณที่เคยเป็นที่อยู่ของชาวจีน ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายไปอยู่ที่แห่งใหม่คือที่สำเพ็ง เริ่มดำเนินการในวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2325 หลังพระราชพิธียกหลักเมือง 1 วัน และมีการเฉลิมพระราชมนเฑียรในวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2325 แต่ขณะนั้นพระราชมนเฑียรสร้างด้วยเครื่องไม้ และสร้างเสาระเนียดรายรอบพระราชวัง ใน พ.ศ. 2326 จึงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระราชมนเทียรและเสาระเนียดจากเครื่องไม้เป็นก่อกำแพงอิฐ และสร้างประตูรายรอบพระบรมมหาราชวัง สร้างพระมหาปราสาท และพระราชมนเทียร ตลอดจนสร้างพระอารามในพระบรมมหาราชวัง คือ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือพระแก้วมรกต เมื่อสร้างพระราชนิเวศน์มนเฑียรเป็นการถาวรแล้วโปรดเกล้าฯ ให้มีการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเต็มตามแบบแผนราชประเพณีอีกครั้งหนึ่งใน พ.ศ. 2328

พระราชวังหลวงหรือพระบรมมหาราชวังได้มีการก่อสร้างเพิ่มเติมขยายอาณาเขตและบูรณปฏิสังขรณ์มาในทุกรัชกาล ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑามณี กรมขุนอิศเรศรังสรรค์ พระราชอนุชา ขึ้นเป็นพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงบัญญัติให้เรียกพระราชวังหลวงว่า พระบรมมหาราชวัง นั่นคือ ทรงบัญญัติให้ใช้คำว่า “บรม” สำหรับฝ่ายวังหลวง และ “บวร” สำหรับฝ่ายวังหน้า พระราชวังบวรสถานมงคลหรือวังหน้าจึงเรียกว่า “พระบวรราชวัง” เมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตแล้ว พระราชวังหลวงก็ยังคงใช้ว่า พระบรมมหาราชวัง มาจนกระทั่งปัจจุบัน

ที่ตั้งและอาณาเขต

หลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างราชธานีแห่งใหม่แล้วก็โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระบรมมหาราชวังไว้ด้วย ที่ตรงบริเวณพระบรมมหาราชวังในปัจจุบันนี้แต่เดิมเป็นชุมชนชาวจีน พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้ชาวจีนเหล่านี้อพยพไปตั้งถิ่นฐานใหม่ที่บริเวณสำเพ็งในปัจจุบัน ในปัจจุบันพระบรมมหาราชวังตั้งอยู่ที่แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร มีอาณาเขตติดต่อกับสถานที่สำคัญดังนี้

  • ทิศตะวันตก แม่น้ำเจ้าพระยา
  • ทิศใต้ เป็นที่ตั้งเรือนหลวง เคหสถานของข้าราชการผู้ใหญ่ที่ปฏิบัติราชการในพระบรมมหาราชวัง

พื้นที่ของพระบรมมหาราชวังในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกเมื่อแรกสร้าง มีเนื้อที่ทั้งหมด 132 ไร่ ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ขยายเขตพื้นที่ออกไปเป็น 152 ไร่ 2 งาน จนถึงปัจจุบัน แผนผังของพระบรมมหาราชวังได้ยึดถือแบบของพระราชวังหลวงสมัยกรุงศรีอยุธยา คือสร้างติดกับแม่น้ำ หันหน้าไปทางทิศเหนือโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาอยู่ทางทิศตะวันตก ให้กำแพงเมืองด้านข้างแม่น้ำเป็นกำแพงพระบรมมหาราชวังชั้นนอก และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระอารามหลวงในพระราชวังตามแบบวัดพระศรีสรรเพชญ์ของกรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออก

การใช้งาน

พระบรมมหาราชวังได้ใช้เป็นที่ประทับและศูนย์กลางการปกครองของพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์มาตลอด จนถึงกลางรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประทับเพียงครั้งคราว ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลได้เสด็จประทับ ณ พระที่นั่งบรมพิมาน ในพระบรมมหาราชวัง กระทั่งเสด็จสวรรคต หลังจากนั้นจนถึงปัจจุบัน มิได้มีพระมหากษัตริย์เสด็จมาประทับในพระบรมมหาราชวังเป็นการถาวรอีก ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จประทับบ้างเป็นครั้งคราว เช่นเวลาซ่อมพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน หรือเวลามีการพระราชพิธี เป็นต้น พระบรมมหาราชวังใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ ตามพระราชประเพณี, เป็นที่รับแขกเมือง และพระราชอาคันตุกะ รวมทั้งเป็นที่ตั้งพระบรมศพและพระศพของพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง ส่วนบริเวณเขตพระราชฐานชั้นนอกได้ใช้เป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ เช่น สำนักพระราชวัง,สำนักราชเลขาธิการและราชบัณฑิตยสถาน และเขตพระราชฐานชั้นในก็มิได้เป็นที่อยู่อาศัยของเจ้านายฝ่ายในอีกต่อไป แต่ยังคงเป็นที่ทำการและที่พำนักของข้าราชการสำนักพระราชวัง ฝ่ายพระราชฐานชั้นในบางส่วนซึ่งล้วนเป็นสตรีทั้งสิ้น

พระที่นั่ง หอ พระตำหนักและสถานที่สำคัญภายในพระบรมมหาราชวัง

พระที่นั่ง หอ พระตำหนักและสถานที่สำคัญภายในพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน สามารถแบ่งออกได้ดังนี้

พระที่นั่งและหอในหมู่พระมหามณเฑียร
  • พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน
  • พระที่นั่งเทพสถานพิลาศ
  • พระที่นั่งเทพอาสน์พิไล
  • พระที่นั่งไพศาลทักษิณ
  • พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัยมไหสูรยพิมาน ซึ่งภายในกำแพงแก้วของพระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ยังมีพระที่นั่งและหอต่าง ๆ ดังนี้
    • พระที่นั่งดุสิตาภิรมย์
    • พระที่นั่งราชฤดี
    • พระที่นั่งสนามจันทร์
    • หอศาสตราคม
  • หอพระสุราลัยพิมาน
  • หอพระธาตุมณเฑียร
พระที่นั่งในหมู่พระมหาปราสาท
  • พระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทซึ่งภายในกำแพงแก้วของพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ยังมีพระที่นั่ง ดังนี้
    • พระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท
    • พระที่นั่งราชกรัณยสภา
  • พระที่นั่งพิมานรัตยา
พระที่นั่งในหมู่พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
  • พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท
  • พระที่นั่งมูลสถานบรมอาสน์
  • พระที่นั่งสมมติเทวราชอุปบัติ
  • พระที่นั่งดำรงสวัสดิ์อนัญวงศ์
  • พระที่นั่งนิพัทธพงศ์ถาวรวิจิตร
  • พระที่นั่งบรมราชสถิตยมโหฬาร
  • พระที่นั่งอมรพิมานมณี
  • พระที่นั่งสุทธาศรีอภิรมย์
  • พระที่นั่งบรรณาคมสรนี
  • พระที่นั่งราชปรีดีวโรทัย
  • พระที่นั่งเทพดนัยนันทยากร
หมู่พระที่นั่งในสวนศิวาลัย
  • พระที่นั่งมหิศรปราสาท
  • พระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท
  • พระที่นั่งสีตลาภิรมย์
  • พระที่นั่งบรมพิมาน
  • พระพุทธรัตนสถาน
พระที่นั่งบนกำแพงพระบรมมหาราชวัง
  • พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท
  • พระที่นั่งไชยชุมพล

สถานที่สำคัญในเขตพระราชฐานชั้นกลาง เช่น

  • พระตำหนักสวนกุหลาบ

พระตำหนักในเขตพระราชฐานชั้นใน เช่น

  • พระตำหนักสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
  • พระตำหนักพระองค์เจ้าอัพภันตรีปชาและพระองค์เจ้าทิพยาลังการ
  • พระตำหนักสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
  • พระตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี
  • เรือนเจ้าจอมมารดาแส
  • เรือนเจ้าจอมก๊กออ

สถานที่สำคัญในเขตพระราชฐานชั้นนอก เช่น

  • แถวเต๊ง
  • สระพระองค์อรไทยฯ
  • โรงโขน เป็นต้น

ดูเพิ่ม

  • ประตูพระบรมมหาราชวัง
  • พระราชอาสน์ และ พระมหาเศวตฉัตร

แหล่งข้อมูลอื่น

มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
พระบรมมหาราชวัง
อยู่ในหมวดต่อไปนี้:
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
Jay
21 december 2017
Stunning! Come early, the place gets too crowded around 12pm. They offer free tours at 10am, 10:30, 1pm, 1:30pm after you enter the palace. Would definitely try that if I had known that they’re free!
Andrew BC 翁 Òng
15 august 2014
A very old historic tourist spot must visit when you're in Krung Thep ( Bangkok). For your information, Very strict on dressing. So must dress properly & neat, NO short pant, slipper, T-shirt etc etc
Liz Sherman
2 march 2019
This place is amazing but full with tour groups. Get there as early as possible. Be on the lookout for people outside who say “the palace is closed” or “the palace doesn’t open until 10” —scammers!
Sander Zuurhout
11 february 2020
You can no longer rent a pair of long trousers but you have to buy them for 200 baht, before entering. Great souvenir to take home and it wairs very comfortable.
Pornrapee Abhakorn
30 october 2017
Most beutifull Royal Palace of Thailand and showing the unique Rattanakosin Architect and building Art Works. A must place to visit and with Temple of the Emerald Buddha with in the same Compound.
Chris Brown
7 april 2018
Get there early and make sure both males and females are covered up or they won’t let you in. 500 THB entry. Use river boat to get there as cheap (15THB). Impressive and definitely worth the visit.
8.7/10
Sergey Berezhnoy, Tassanee Kiatkamchor และ 121,773 ผู้คนมากขึ้นได้รับที่นี่
แผนที่
200 มหาราช แขวง พระบรมมหาราชวัง เขต พระนคร กรุงเทพมหานคร 10200 ประเทศไทย ขอเส้นทาง
Mon-Sun 8:30 AM–3:30 PM

The Grand Palace ในFoursquare

พระบรมมหาราชวัง ในFacebook

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Oh Compound Hostel

ตั้งแต่วันที่ $4

The Printing House Poshtel Bangkok

ตั้งแต่วันที่ $15

Sri Krungthep Hotel

ตั้งแต่วันที่ $15

Baan Dinso

ตั้งแต่วันที่ $34

U-Night Hostel

ตั้งแต่วันที่ $15

Rachanatda Hostel

ตั้งแต่วันที่ $14

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

The Wat Phra Kaew (English Temple of the Emerald Buddha, Thai:

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอ

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิ

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

|entrance_fee = รอบนอก เข้าชมฟรี บริเวณพระปรางค์ ชาวต่างชาติ 2

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร

ศาลเจ้าพ่อเสือ พระนคร :(ตัวเต็ม:打惱路玄天

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมง

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

The National Museum in Thailand is the main museum on the history of

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พระราชวังฤดูร้อนอี๋เหอหยวน

พระราชวังฤดูร้อน หรือ อี๋เหอหยวน (Шаблон:Zh-all; Gardens of N

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Chapultepec Castle

Chapultepec Castle (Castillo de Chapultepec in Spanish) is located on

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พระราชวังซองส์ซูซิ

พระราชวังซองส์ซูซิ (ภาษาอังกฤษ: Sanssouci) เป็นอดีตพระ

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Ludwigsburg Palace

Ludwigsburg Palace is one of Germany's largest Baroque palaces and

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Istana Pasir Pelangi

Istana Pasir Pelangi is a royal palace of the Tunku Mahkota (Crown

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด