วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร หรือ วัดระฆัง, วัดหลวงพ่อโต ตั้งอยู่เลขที่ 250 แขวงศิริราช เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร อยู่ในเขตการปกครองคณะสงฆ์มหานิกายภาค 1

วัดแห่งนี้เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเป็นพระอารามหลวงและเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราช ในสมัยรัตนโกสินทร์ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ 5 ลูก จากนั้นได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดระฆังโฆสิตาราม” นอกจากเป็นเพราะขุดพบระฆังที่วัดนี้และเพื่อฟื้นฟูแบบแผนครั้งกรุงศรีอยุธยาที่มีวัดชื่อวัดระฆังเช่นกัน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ “วัดระฆังโฆสิตาราม” เป็น “วัดราชคัณฑิยาราม” (คัณฑิ แปลว่าระฆัง) แต่ไม่มีคนนิยมเรียกชื่อนี้ ยังคงเรียกว่าวัดระฆังต่อมา

วัดระฆังโฆสิตารามมีหอพระไตรปิฎกซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามมาก เคยเป็นพระตำหนักและหอประทับนั่งของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชขณะทรงรับราชการในสมัยธนบุรี และโปรดเกล้าฯ ให้รื้อมาถวายวัด เมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว มีพระราชประสงค์จะบูรณปฏิสังขรณ์ให้สวยงามเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎก

ประวัติ

เดิมเป็นวัดโบราณสร้างในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดบางว้าใหญ่ (หรือบางหว้าใหญ่) ในสมัยธนบุรี สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงสร้างพระราชวังใกล้วัดบางว้าใหญ่ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ และขึ้นยกเป็นพระอารามหลวง และเป็นที่ประทับของสมเด็จพระสังฆราชในสมัยรัตนโกสินทร์ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ซึ่งอัญเชิญมาจากนครศรีธรรมราชขึ้นที่วัดนี้

ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ วัดบางว้าใหญ่อยู่ในพระอุปถัมภ์ของเจ้านายวังหลัง คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาเทพสุดาวดี (สา) พระเชษฐภคินีของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นพระชนนีของกรมพระราชวังบวรสถานพิมุข ทรงมีตำหนักที่ประทับอยู่ติดกับวัด

ได้ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดร่วมกับพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ขุดพบระฆังลูกหนึ่ง ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำไปไว้ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยทรงสร้างระฆังชดเชยให้วัดบางว้าใหญ่ ๕ ลูก

อาณาเขตที่ตั้งวัด

Шаблон:โครงส่วน

เขตติจีวราวิปวาส

Шаблон:โครงส่วน

เขตวิสุงคามสีมา

Шаблон:โครงส่วน

ที่ธรณีสงฆ์

Шаблон:โครงส่วน

ปูชนียวัตถุสำคัญ

หลวงพ่อยิ้มรับฟ้า

พระประธานยิ้มรับฟ้า เป็นพระพุทธรูปเนื้อทองสำริด ปางสมาธิ หน้าตักกว้างประมาณ ๔ ศอกเศษ เบื้องพระพักตร์มีรูปพระสาวก ๓ องค์ นั่งประนมมือดุจรับพระพุทธโอวาท พระประธานองค์นี้ได้รับการยกย่องว่างดงามมาก จนปรากฏว่าครั้งหนึ่งเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอม เกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จมาถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มีพระราชดำรัสแก่ผู้เข้าเฝ้าฯ ใกล้ชิดว่า ไปวัดไหนไม่เหมือนมา วัดระฆังพอเข้าประตูโบสถ์พระประธานยิ้มรับฟ้าทุกที ด้วยเหตุนี้จึงทรงถวายเครื่องราชอิสริยาภรณ์นพรัตนราชวราภรณ์ และมหาปรมาภรณ์ ช้างเผือกแด่พระประธานองค์นี้เป็นพิเศษ และพระประธานองค์นี้ก็ได้นามว่า พระประธานยิ้มรับฟ้า ตั้งแต่นั้นมา

โบราณสถานสำคัญ

พระอุโบสถ

เป็นทรงแบบรัชกาลที่ ๑ หลังคาลด ๓ ชั้น มีช่อฟ้า ใบร1234ะกา หางหงส์ และคันทวยสลักเสลาอย่างสวยงาม บริเวณมุขด้านหน้าและหลังทำปีกนกคลุมมุขอยู่ในระยะไขราหน้าจั่ว ตอนใต้จั่วหรือหน้าบัน ที่จำหลักลายพระนารายณ์ทรงครุฑ ประดับลายกนกปิดทองอย่างประณีต เจาะเป็นช่องหน้าต่าง ๒ ช่อง แทนแผงแรคอสองเหนือประตูหน้าต่างรอบพระอุโบสถติดกระจังปูนปั้นปิดทองทำเป็นรูปซุ้มบนบานประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำปิดทองมีรูประฆังเป็นเครื่องหมาย ด้านในเขียนภาพทวารบาลยืนแท่นระบายสีงดงาม บริเวณฝาผนังภายในพระอุโบสถโดยรอบเขียนภาพจิตรกรรมที่ได้รับการยกย่องว่าฝีมืองดงามมาก โดยผนังด้านหน้าพระประธานเขียนเป็นภาพพระพุทธเจ้าแสดงยมกปาฏิหาริย์ก่อนเสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และตอนเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ด้านหลังพระประธานเขียนภาพพระมาลัยขณะขึ้นไปนมัสการพระมหาจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เบื้องล่างเขียนภาพสัตว์นรกในอาการต่างๆ ภาพฝาผนังส่วนที่เหลือ เบื้องบนเขียนเป็นเทพชุมนุม ตอนล่างเขียนภาพทศชาติ ซึ่งเขียนได้อย่างมีชีวิตชีวาอ่อนช้อยและแสงสีเหมาะสมกับเรื่องราว ภาพเหล่านี้เขียนโดย พระวรรณวาดวิจิตร (ทอง จารุวิจิตร) จิตรกรเอกในสมัยรัชกาลที่ ๖ เมื่อราว พ.ศ. ๒๔๖๕ ครั้งมีการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถในรัชกาลนั้น

พระวิหาร (พระอุโบสถหลังเก่า)

Шаблон:โครงส่วน

พระปรางค์

รัชกาลที่ ๑ มีพระราชศรัทธาสร้างพระปรางค์ พระราชทานร่วมกุศลกับสมเด็จพระพี่นางพระองค์ใหญ่ (สมเด็จเจ้าฟ้าหญิง กรมพระยาเทพสุดาวดี พระนามเดิม สา) ตั้งอยู่หน้าพระวิหาร ได้รับการยกย่องจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย พระปรางค์องค์นี้จัดเป็นพระปรางค์แบบ สถาปัตยกรรมรัตนโกสินทร์ยุคต้น ที่มีทรวดทรงงดงามมาก จนยึดถือเป็นแบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา

หอระฆัง

Шаблон:โครงส่วน

หอพระไตรปิฎก

Шаблон:โครงส่วน

ศาลาการเปรียญ

Шаблон:โครงส่วน

หอพระไตรปิฎก (คณะ 2)

Шаблон:โครงส่วน

พระเจดีย์สามองค์

สร้างโดยเจ้านายวังหลัง ๓ องค์ คือ กรมหมื่นนราเทเวศร์ (พระองค์เจ้าชายปาล ต้นสกุล ปาลกะวงศ์) กรมหมื่นนเรศร์โยธี (พระองค์เจ้าชายบัว) และกรมหมื่นเสนีย์บริรักษ์ (พระองค์เจ้าชายแดง ต้นสกุล เสนีวงศ์) สร้างโดยเสด็จพระราชกุศลในรัชกาลที่ ๓ เมื่อคราวสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้ยี่สิบ ทรงจอมแห ทรวดทรงงดงามมาก แต่เป็นเจดีย์ขนาดย่อม ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือของพระอุโบสถหลังปัจจุบัน

สถานที่น่าสนใจภายในวัด

พระวิหารสมเด็จพระพุฒาจารย์โต

Шаблон:โครงส่วน

พระวิหารสมเด็จพระสังฆราช (ศรี)

Шаблон:โครงส่วน

พิพิธภัณฑ์วัดระฆังโฆสิตาราม (อาคารเฉลิมพระเกียรติริมแม่น้ำเจ้าพระยา)

Шаблон:โครงส่วน

ลำดับเจ้าอาวาส

วัดระฆังโฆสิตาราม วรมหาวิหาร ตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีมาจนถึงยุคปัจจุบันนี้ มีอธิบดีสงฆ์ปกครองวัดมาแล้ว ๑๑ รูปด้วยกัน สำหรับรูปที่ ๑๑ คือ พระเทพประสิทธิคุณ นั้น ปัจจุบันนี้อาพาธด้วยโรคชราจึงเข้าพักรักษาตัว อยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๗ เป็นต้นมา คณะสงฆ์จึงได้แต่งตั้ง พระเทพวิสุทธิเมธี ผู้ช่วยเจ้าอาวาสพระอารามหลวง, เจ้าคณะภาค ๑๑ ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนเจ้าอาวาส สำหรับลำดับอธิบดีสงฆ์แห่งวัดระฆังฯ นั้นมีดังนี้คือ

  1. สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (ศรี) พ.ศ. ๒๓๑๒ - ๒๓๓๗
  2. พระพนรัตน (นาค) พ.ศ. ๒๓๓๗ - ………
  3. พระพุฒาจารย์ (อยู่) พ.ศ. ………. - ………
  4. สมเด็จพระพนรัตน (ทองดี) พ.ศ. ………. - ………
  5. สมเด็จพระพนรัตน (ฤกษ์) พ.ศ. ………. - ………
  6. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) พ.ศ. ๒๓๙๕ - ๒๔๑๕
  7. หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๔๓๗
  8. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (หม่อมราชวงศ์เจริญ ญาณวโร) พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๗๐
  9. พระเทพสิทธินายก (นาค โสภโณ) พ.ศ. ๒๔๗๐ - ๒๕๑๔
  10. พระเทพญาณเวที (ละมูล สุตาคโม) พ.ศ. ๒๕๑๕ - ๒๕๓๐
  11. พระเทพประสิทธิคุณ (ผัน ติสฺสโร) พ.ศ. ๒๕๓๒ - ปัจจุบัน
  12. พระธรรมธีรราชมหามุนี (เที่ยง อคฺคธมฺโม) ๒๐ สค. พ.ศ. ๒๕๕๐ - ………

การปกครองวัด

Шаблон:โครงส่วน

คณะ (กลุ่มกุฎิ)

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๑

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๒

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๓

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๔

Шаблон:โครงส่วน พระธรรมธีรราชมหามุนี เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม เจ้าคุณภาค 11 เจ้าคณะ 4

คณะ ๕

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๖

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๗

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๘

Шаблон:โครงส่วน

คณะ ๙

Шаблон:โครงส่วน

คณะแม่ชี (ศาลาการเปรียญ)

Шаблон:โครงส่วน

พระภิกษุสงฆ์สามเณรในสังกัด

พระสังฆาธิการวัดระฆังโฆสิตารามในปัจจุบัน

Шаблон:โครงส่วน

พระสงฆ์ทรงสมณศักดิ์วัดระฆังโฆสิตารามในปัจจุบัน

Шаблон:โครงส่วน

พระเปรียญธรรมวัดระฆังโฆสิตารามในปัจจุบัน

Шаблон:โครงส่วน

สำนักเรียนพระปริยัติธรรมพฺรหฺมรํสี

Шаблон:โครงส่วน

อื่น ๆ

พระเครื่องที่จัดสร้างโดยวัดระฆังโฆสิตาราม

Шаблон:โครงส่วน

โครงการไหว้พระ ๙ วัด

Шаблон:โครงส่วน

อ้างอิง

Шаблон:รายการอ้างอิง Шаблон:ต้องการอ้างอิง

ดูเพิ่ม

  • สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)
  • โรงเรียนสตรีวัดระฆัง

แหล่งข้อมูลอื่น

Шаблон:คอมมอนส์-หมวดหมู่

อยู่ในหมวดต่อไปนี้:
แสดงความคิดเห็น
เคล็ดลับ & คำแนะนำ
@JaumePrimero
22 december 2012
Take the ferry from Tha Chang pier to Wat Rakhang pier to get here. If you visit at sun down, the temple lights up at night.
Mini Kiang
13 july 2016
Parking at the building is free for the first hour. After one hour, it will be 20 Baht per hour.
: P
16 february 2018
ระฆังวัดบางหว้าใหญ่ขุดได้ในวัด ร.1 ทรงขอไปไว้ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วทรงให้สร้างหอระฆังจตุรมุขพร้อมระฆังอีก 5 ใบพระราชทานไว้แทน ส่วนจุดที่ขุดระฆังได้ให้ทำเป็นสระน้ำ ตั้งหอพระไตรปิฏกในสระ
: P
16 february 2018
พระปรางค์องค์ใหญ่ รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯให้สร้าง สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ทรงยกย่องว่า เป็นพระปรางค์ที่ทำถูกแบบที่สุดในประเทศไทย แบบฉบับของพระปรางค์ที่สร้างในยุคต่อมา
: P
16 february 2018
บ้านเดิมของ ร.1 ทรงพระราชทานให้วัดเพื่อเป็นหอพระไตรปิฎกอยู่บริเวณสระหลังพระอุโบสถ ต่อมาสมัย ร.9 ปฏิสังขรณ์และย้ายเข้ามาในเขตพุทธาวาส ภายในมีจิตรกรรมพระอินทร์ สวรรค์ ฯ ร.9 ทรงปลูกต้นจันทน์ไว้ด้านหน้า
Zzz BoY zzZ
31 october 2013
วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดบางหว้าใหญ่ เป็นพระอารามหลวง ชั้นโทชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ สร้างในสมัยอยุธยา สมัยรัชกาลที่1 ได้ขุดพบระฆังภายในวัด จึงได้พระราชทานนามว่า "วัดระฆังโฆสิตาราม"
8.8/10
Chanarnun H., LuckyBeaver และ 64,559 ผู้คนมากขึ้นได้รับที่นี่
แผนที่
250 ถนน อรุณอมรินทร์ แขวง ศิริราช เขต บางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700 ประเทศไทย ขอเส้นทาง
Sun 9:00 AM–6:00 PM
Mon-Wed 10:00 AM–5:00 PM
Thu 11:00 AM–5:00 PM
Fri 10:00 AM–5:00 PM

Wat Rakang ในFoursquare

วัดระฆังโฆสิตารามวรมหาวิหาร ในFacebook

โรงแรมใกล้เคียง

ดูโรงแรมทั้งหมด ดูทั้งหมด
Oh Compound Hostel

ตั้งแต่วันที่ $4

The Printing House Poshtel Bangkok

ตั้งแต่วันที่ $15

Sri Krungthep Hotel

ตั้งแต่วันที่ $15

Baan Dinso

ตั้งแต่วันที่ $34

U-Night Hostel

ตั้งแต่วันที่ $15

Rachanatda Hostel

ตั้งแต่วันที่ $14

สถานที่ท่องเที่ยวที่แนะนำอยู่บริเวณใกล้เคียง

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พระบรมมหาราชวัง

พระบรมมหาราชวัง (อังกฤษ: Grand Palace) เป็นที่ประทับของพระมหากษัตร

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

The Wat Phra Kaew (English Temple of the Emerald Buddha, Thai:

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

The National Museum in Thailand is the main museum on the history of

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
ท้องสนามหลวง

ท้องสนามหลวง หรือ สนามหลวง เป็นสนามขนาดใหญ่ ตั้งอ

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร ตั้งอยู่ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมง

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร

|entrance_fee = รอบนอก เข้าชมฟรี บริเวณพระปรางค์ ชาวต่างชาติ 2

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป (อังกฤษ: The National Gallery) หร

สถานที่ท่องเที่ยวที่คล้ายกัน

ดูทั้งหมด ดูทั้งหมด
เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดไร่ขิง

วัดไร่ขิง พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ริมแม่น้ำท่าจีนหรือเรียกอีกชื่

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Kaba Aye Pagoda

Kaba Aye Pagoda (Burmese: ကမ္ဘာအေးစေတီ; pronounced ]; also spel

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
Hase-dera (Kamakura)

Hase-dera (海光山慈照院長谷寺, Kaikō-zan Jishō-in Hase-dera), commonl

เพิ่มในรายการที่ต้องการ
ฉันเคยมาที่นี่
มีผู้เข้าชม
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม

The Wat Phra Kaew (English Temple of the Emerald Buddha, Thai:

ดูสถานที่ที่คล้ายกันทั้งหมด